Ulysee Nardin Diver NET ผลผลิตจากแห-อวน

0

อีกหนึ่งผลงานที่น่าสนใจจาก Ulysee Nardin ในการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและให้เกิดประโยชน์สูงสุด กับนาฬิกาต้นแบบรุ่น Diver NET ที่ในตอนนี้ยังเป็นต้นแบบแต่คาดว่าน่าจะผลิตจริงในเร็วๆ นี้

- Advertisement -

Ulysee Nardin

Ulysee Nardin Diver NET ผลผลิตจากแห-อวน

  • นาฬิกาที่ยังเป็นแค่ต้นแบบแต่เด่นในเรื่องการช่วยสิ่งแวดล้อม

  • ตัวเรือน ฝาหลัง และขอบตัวเรือนผลิตจากวัตถุดิบที่ถูกรีไซเคิลมาจากแหและอวน

  • กลไก UN-118 สำรองพลังงานได้ 60 ชั่วโมง

ปัญหาจากขยะพลาสติก โดยเฉพาะที่อยู่ตามท้องทะเล นอกจากจะสร้างความเดือดร้อนให้กับสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลแล้ว สุดท้ายคนทิ้งก็จะได้รับผลกระทบตามมาในที่สุด และนั่นทำให้หลายแบรนด์ต่างให้ความสนใจในการจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทั้งในแง่ของการสนับสนุนบรรดาหน่วยงานต่างๆ หรือแม้แต่การนำวัสดุที่เกิดจากการรีไซเคิลขยะพลาสติกเหล่านั้นมาใช้ในการผลิตสินค้าของตัวเอง และ ยูริส นาแดง คือ อีกรายที่ให้ความสนใจกับเรื่องนี้ ด้วยการผลิตนาฬิกาดำน้ำต้นแบบที่ชื่อว่า Diver NET ขึ้นมา

คำว่า NET ของนาฬิการุ่นนี้มีความหมายตรงตัวคือ ตาข่าย ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะตัวเรือนของนาฬิกานั้นได้รับการผลิตจากวัสดุที่ถูดรีไซเคิลจากขยะพลาสติกที่เป็นแหหรืออวนที่ถูกทิ้งเอาไว้ตามธรรมชาติซึ่งมีปริมาณต่อปีเป็นสิบตันเลย แน่นอนว่าการหันมาสนใจในเรื่องนี้ นอกจากจะเป็นสิ่งที่ช่วยแสดงให้เห็นถึงจุดยืนที่แบรนด์ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับแผนการระยะยาวของบริษัทอีกด้วย ซึ่ง ยูริส นาแดง อยู่ในเครือ Kering Group  (เช่นเดียวกับ Gucci Sain Laurent Balenciaga และ Girard Perregaux) ที่มีการวางเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนออกสู่สภาพแวดล้อม หรือ Carbon Footprint ลงถึง 50% ภายในปี 2025

เอาเข้าจริงๆ แม้ว่าไอเดียในการทำเช่นนี้อาจจะไม่ใช่ของใหม่ในตลาด แต่เมื่อมองดูจากแบรนด์หรูทั้งหลายที่มีอยู่นั้น ต้องบอกว่า ยูริส นาแดง คือรายแรกที่กล้าบอกว่าตัวเองนำวัสดุที่ถูกรีไซเคิลจากขยะพลาสติกมาใช้ในการผลิตตัวเรือนนาฬิกาอย่างเป็นเรื่องเป็นราว เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า ของหรูกับของที่ถูกทิ้งมักจะไปด้วยกันไม่ได้ แต่ถ้าสื่อสารกันดีๆ เรื่องนี้จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการทำให้ใครหลายคนปรับทัศนคติ และทำให้กระบวนการ Upcycling หรือ Circular Living ที่ถูกพูดถึงกันมาหลายต่อหลายปีกลายมาเป็นความจริงมากขึ้นทั้งในแง่ของการลดปริมาณการใช้ทรัพยากร และช่วยลดปริมาณขยะที่เราสร้างขึ้นมาในแต่ละปี

ยูริส นาแดง บอกว่าตัวเรือน ฝาหลัง และขอบตัวเรือนของ Diver NET ถูกสร้างขึ้นมาจากวัสดุที่เรียกว่า Polyamide Pellets ซึ่งเป็นวัสดุที่ถูกผลิตขึ้นมาจากการนำแหและอวนมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และถือเป็นวัสดุที่มีทั้งความทนทานต่อการขูดขีดหรือการบิดตัวได้เป็นอย่างดี โดยกระบวนการผลิตวัสดุเหล่านี้เป็นความร่วมมือระหว่าง ยูริส นาแดง กับบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติฝรั่งเศสอย่าง FIL&FAB

อีกสิ่งที่น่าสนใจคือ กระจกของตัวนาฬิกาแม้ว่าจะไม่ได้มาจากแหหรืออวน แต่ก็เป็นกระจกแบบเซรามิกแบบโปร่งแสง วึ่งมีกระบวนการและขั้นตอนการผลิตที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือใช้พลังงานในการผลิตน้อยกว่าการผลิตกระจกแซฟไฟร์แบบเดิมๆ

ตัวนาฬิกาถูกดีไซน์ขึ้นมาโดยอ้างอิงจากรูปลักษณ์ของ Diver X ซึ่งเป็นนาฬิกาดำน้ำของ ยูริส นาแดง ที่มีขายอยู่ในตลาดและเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2019 พร้อมกับมีการปรับดีไซน์ โดยเฉพาะรายละเอียดบนหน้าปัดใหม่ซึ่งนอกจากจะมีคำว่า X อยู่ตรงกลางแล้ว ในรุ่นนี้ยังเติมคำว่า U และ N เอาไว้ที่ฝั่งซ้ายและขวาของหน้าปัดด้วย ขณะที่กลไกเป็นรุ่น UN-118 ที่มาพร้อมกับใยนาฬิกาที่ผลิตจากวัสดุอย่าง DIAMonSIL ซึ่งเป็นซิลิคอน ช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากสนามแม่เหล็กซึ่งจะทำให้นาฬิกาเดินคลาดเคลื่อน ส่วนกำลังงานสำรองอยู่ที่ 60 ชั่วโมง

งานนี้ยังเป็นแค่ต้นแบบอยู่ และยังไม่มีการเปิดเผยออกมาว่า สุดท้ายแล้ว ยูริส นาแดง จะขึ้นไลน์ผลิตออกมาขายในตลาดหรือไม่

รายละเอียดทางเทคนิค 

  • เส้นผ่านศูนย์กลาง : 44 มิลลิเมตร
  • การกันน้ำ : 300 เมตร
  • วัสดุตัวเรือน : วัตถุดิบที่มาจากการรีไซเคิลแหและอวน
  • สาย : R-PET มาจากเส้นใยที่มาจากการนำขวดพลาสติก PET มารีไซเคิล
  • กลไก : UN-118 เดินด้วยความถี่ 28,8000 ครั้งต่อชั่วโมง และสำรองพลังงาน 60 ชั่วโมง