Omega Speedmaster “Silver Snoopy Award” 50th Anniversaryมีการเติมรายละเอียดมากมายหลายอย่าง และแต่ละอย่างก็มีความสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ซึ่งเราได้ถอดรหัสและนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ที่ซ่อนอยู่บนตัวเรือนของนาฬิกาเรือนนี้
Omega Speedmaster Silver Snoopy Award 50th Anniversary กับ 5 เรื่องน่ารู้บนตัวเรือน
ถือเป็นนาฬิกาที่ถูกจับตามองและเรียกเสียงฮือฮาทิ้งท้ายปีก็ว่าได้สำหรับ Omega Speedmaster “Silver Snoopy Award” 50th Anniversaryซึ่งเป็นรุ่นที่ 3 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ Snoopy นับจากปี 2003 และมีความพิเศษตรงที่เป็นการฉลองครบ 50 ปีของการรับรางวัล Silver Snoopy Award จาก NASA
แน่นอนว่านาฬิการุ่นนี้มีการเติมรายละเอียดต่างๆ เอาไว้อย่างมาก และแต่ละอย่างที่ถูกใส่เข้าไปนั้นก็มีความสอดคล้องกับเรื่องราวและที่มาที่ไป ซึ่งวันนี้ Ana-Digi จะสรุปออกมาถึง 5 เรื่องที่น่าสนใจ
1.ฉลอง 50 ปีของการรับรางวัล Silver Snoopy Award ของ Omega : ย้อนกลับไปเมื่อปี 1970 ทาง Omega ได้รับรางวัล “Silver Snoopy Award” จากนักบินอวกาศของ NASA เพื่อแทนคำขอบคุณสำหรับความร่วมมือของแบรนด์ที่มีต่อการสำรวจอวกาศ และ Speedmaster ที่มีส่วนอย่างมากในการกอบกู้ยาน Apollo 13 ให้ผ่านห้วงวิกฤต
อีก 50 ปีถัดมา เรือนเวลารุ่นพิเศษได้ถูกรังสรรค์ขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลองให้กับวาระดังกล่าว เรือนเวลามีการผสมผสานระหว่างศาสตร์แห่งการผลิตเครื่องบอกเวลาเข้ากับตัวการ์ตูน เรียกได้ว่า Snoopy รุ่นนี้ได้นำ OMEGA Speedmaster ไปสู่บทใหม่ของการออกแบบ
สุนัขบีเกิ้ลตัวโปรดของเรารับบทสำคัญบนเรือนเวลา นับเป็นครั้งแรกที่ Snoopy ในชุดนักบินอวกาศอันโด่งดังปรากฎในลักษณะรูปนูนต่ำบนหน้าปัดย่อยสีน้ำเงินที่ตำแหน่ง 9 นาฬิกา แบบเดียวกับที่ปรากฎบนเข็มกลัดเงินที่นักบินอวกาศ NASA มอบให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2.AG925 นัยที่ซ่อนอยู่บนหน้าปัด : AG คือ ชื่อในภาษาละตินของแร่เงิน หรือ Argentum และเป็นตัวย่อที่ถูกใช้ในตารางธาตุ โดยคำนี้ถูกสลักอยู่บนหน้าปัดเพื่อบอกว่าหน้าปัดผลิตจากเงิน ส่วน 925 คือ การระบุว่าเงินชนิดนั้นเป็นเงินแท้ หรือ Sterling Silver ซึ่งตรงนี้สอดคล้องกับเข็มกลัด Silver Snoopy Award ที่ Omega ได้รับ ซึ่งผลิตจากแร่เงินแท้ AG925 แบบเดียวกัน ถูกมอบให้โดยนักบินอวกาศ Thomas P. Stafford ผบ.ยาน Apollo 10 พร้อมกับประกาศนียบัตร Manned Flight Awareness ที่มีการลงนามโดยนักบินอวกาศของยาน Apollo 13 ทุกนาย ทั้ง James Lovell, Jack Swigert และ Fred Haise เมื่อปี 1970
3.Dot Over 90 บน Bezel : สิ่งที่มีการพูดถึงในแง่ของสเป็กบนของตัวเรือนที่มีการใช้ Insert ตัวเรือนที่ผลิตจากเซรามิก และมีสเกลของ Tachymeter แบบเอนาเมลแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่มีการพูดถึงคือ การเชื่อมโยงอดีตกับนาฬิกาเรือนนี้ โดยย้อนกลับไปสู่ความคลาสสิคด้วยการใช้ขอบตัวเรือนที่มีสเกลแบบเดียวกับ Speedmaster ในยุคก่อนบินไปดวงจันทร์จนถึงปี 1970 สิ่งที่แยกออกเรื่องหนึ่งในเรื่องคือ คำว่า Tachymeter ซึ่งในรุ่นแรกจนถึงปี 1970 จะมี Accent aigu ´ หรือ อักซองเต กวี อยู่บนตัว E และอีกเรื่องคือคำว่า Dot Over Ninety หรือ จุดสำหรับมาร์คตำแหน่งสำคัญของแต่ละช่วงความเร็ว ซึ่งในนาฬิการุ่นแรกจนถึงปี 1970 จุดนี้จะอยู่เหนือตัวเลข 90 แต่รุ่นหลังจากนั้นจะเป็น Dot Next Ninety หรืออยู่ข้างเลข 90
4.แม้การลงบนดวงจันทร์ล้มเหลว แต่พวกเขาคือ คนที่เดินทางสู่อวกาศที่ไกลที่สุดคนแรกของโลก : อย่างที่เราทราบกันดี Apollo 13 ไม่สามารถลงจอดบนดวงจันทร์ได้เพราะเกิดปัญหาหลังจากที่ออกเดินทางจากโลกได้เพียงแค่ 2 วันเท่านั้น แต่สิ่งที่เกิดขี้นและกลายเป็นสถิติที่ยังไม่มีใครลบได้คือ พวกเขาคือกลุ่มคนที่เดินทางสู่อวกาศที่ไกลที่สุดรายแรกของโลก รวมเป็นระยะทาง 400,171 กิโลเมตร และได้ผ่านด้านมืดของดวงจันทร์เพราะต้องวนรอบดวงจันทร์เพื่อใช้แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ส่งยานกลับมายังโลก ซึ่งเรื่องราวตรงนี้ได้ถูกถ่ายทอดผ่านทางฝาหลังของ Omega Speedmaster “Silver Snoopy Award” 50th Anniversaryโดยเมื่อกดปุ่มจับเวลา จะมียานส่วนควบคุมและบริการ (CSM) สีขาวขนาดจิ๋ว พร้อมSnoopy เดินทางไปยังด้านไกลของดวงจันทร์ – แบบเดียวกับลูกเรือของ Apollo 13 – นอกจากนี้บนกระจกแซฟไฟร์ยังได้รับการตกแต่งให้เหมือนพื้นผิวของดวงจันทร์โดยกระบวนการพ่นพอกโลหะขนาดไมโครแบบที่ไม่มีใครเหมือน โลกขนาดย่อมจะหมุนด้วยอัตราหนึ่งรอบต่อนาที เท่ากับรอบของเข็มวินาทีย่อย ทำหน้าที่เป็นตัวแทนการโคจรรอบตัวเองของโลก ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นทีเด็ดของนาฬิกาเรือนนี้เลยก็ว่าได้
นอกจากนั้น ยังใช้ระบบ NAIAD LOCK ในการไขฝาหลังเพื่อให้ทุกตัวอักษรบนฝาหลังอยู่ตรงตามตำแหน่งได้อย่างสมบูรณ์แบบซึ่งรวมถึงวันที่ที่ Omega ได้รับรางวัล Silver Snoopy Award เมื่อปี 1970 เช่นเดียวกับภาพที่อุทิศให้กับภารกิจ Apollo 13 สุดอันตรายในปีเดียวกัน โดยตามปกติแล้วถ้าอ่านเอกสารข่าวของผู้ผลิตนาฬิกาบ่อยๆ พวกเขามักจะบยอกถึงเรื่องที่ตัวอักษรบนฝาหลังไม่ตรงกับภาพที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ แบบเดียวกับแคตาล็อครถยนต์ที่มักจะมีข้อความว่าสีในแคตาล็อกกับคันจริงอาจจะไม่เหมือนกับทีเดียว
5. เส้นทางกลับบ้านบนสายหนัง : เพื่อเชื่อมโยงเรื่องราวของข้อ 4 และ 5 เข้าด้วยกัน ด้านหลังของสายยาวของสายหนังยังมีการสลักเส้นทางกลับบ้านเอาไว้ด้วย สายนาฬิกาไนลอนสีน้ำเงินคือหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า Omega ได้ทุ่มเทความใส่ใจลงไปในทุกรายละเอียด สีดังกล่าวเข้ากันได้ดีกับโทนสีของตัวเรือนและกระทั่งสอดแทรกรายละเอียดวิถีการโคจรของ Apollo 13 ผ่านการเย็บสาย สายนาฬิกาประกอบเข้ากับตัวเรือนสแตนเลสสตีลขนาด 42 มม. ซึ่งทั้งโครงการนักบินของ Apollo 13 ใช้เวลารวมแล้ว 5 วัน 22 ชั่วโมง 54 นาที และ 41 วินาทีตั้งแต่ออกเดินทางจากโลกและกลับบ้าน
Fanpage : https://www.facebook.com/anadigionline/