Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’ ร่วมสร้างพลังแห่งการอนุรักษ์เพื่อความยั่งยืน

0

Seiko Thailand จัดงาน ‘Save the Forest’ ซึ่งเป็นกิจกรรมในเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ Seiko จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และถือเป็นปีที่ 2 แล้วสำหรับอีเวนท์นี้ ซึ่งมีขึ่นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม 2023 โดยในปีนี้การจัดงานมีขึ้นภายในคอนเซ็ปต์ Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’ ขึ้นในระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม 2024 ที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีการเชิญสื่อมวลชนจากหลากหลายสาขาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

- Advertisement -

Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’

Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’ ร่วมสร้างพลังแห่งการอนุรักษ์เพื่อความยั่งยืน

สำหรับโปรเจ็กต์ในปีนี้ถือว่าสอดคล้องและมีความต่อเนื่องจากการเปิดตัวนาฬิกาช้างไทยในรหัส SRPK57K  ที่เป็น Thailand Limited Edition ซึ่งพัฒนาบนพื้นฐานของนาฬิกาดำน้ำรุ่น Samurai ขับเคลื่อนด้วยกลไก 4R35 และเปิดตัวจำหน่ายไปเมื่อปลายเดือนธันวาคม โดยมีการผลิตทั้งหมด 1,500 เรือน

ด้วยความตั้งใจที่ Seiko​ มีเป้าหมายที่จะร่วมพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมไทยอย่างยั่งยืน​ ภายใต้แนวคิด Sustainable campaign ซึ่งเป็นแคมเปญที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนตาม​หลักการดำเนินธุรกิจ SDGS ของบริษัท ไซโก​ (ประเทศไทย)​ ที่เปิดตัวเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2022

และนำมาสู่โครงการ Save The Forest ครั้งแรกในกลางเดือนมกราคม 2023 ในการสนับสนุนการทำงานของหน่วยรักษาพันธุสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี

ส่วนในปีนี้ จากการเปิดตัวนาฬิการุ่นช้างไทย ได้นำมาสู่การสัมผัสและลงพื้นที่จริงเพื่อเข้าถึงช้างไทย ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตคู่บ้านคู่เมืองที่คนไทยคุ้นเคยกันมานาน โดยทาง Seiko ได้ร่วมมือกับทางกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ EEC Thailand ที่มีคุณอเล็กซ์ เรนเดลล์เป็นผู้ดูแลโครงการ และตัวเขาเองก็เป็น Seiko Brand Frineds มาตั้งแต่ปี 2022

Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’

โดยในวันแรกเริ่มขึ้นด้วยการเยี่ยมชมและรับทราบการทำงานของหน่วยสัตว์ป่า โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งที่นี่ถือเป็นโรงพยาบาลที่ดูแลและรักษาช้างแห่งเดียวของภาคกลาง โดยในการให้ข้อมูลทาง หมอแอ้ม หรือ อ. สพ.ญ. ดร.สุภาเพ็ญ ศรีพิบูลย์ อาจารย์ประจำภาคเวชศาสตร์คลินิกสัตว์ใหญ่และสัตว์ป่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลเรื่องการทำงาน และนำชมพื้นที่โดยรอบของโรงพยาบาลสัตว์

ในปัจจุบันสามารถรองรับกับการแอดมิดช้างได้ 3-4 เชือกเท่านั้นเพราะพื้นที่จำกัด ซึ่งในวันที่เดินทางไปมีช้างแอดมิดอยู่แล้ว 2 เชือก คือ พลายบิลลี่ และพลายบุญชู ซึ่งที่นี่ทาง Seiko Thailand ได้มอบอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น ไซริงค์ขนาดใหญ่ ผ้าก็อช น้ำเกลือ และเบตาดีน เพื่อใช้ในการดูแลและรักษาพยาบาลช้าง

Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’

Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’

จากนั้นคณะเดินทางต่อมาที่ปางช้างไทรโยค ซึ่งในอดีตเคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว และมีช้างหลายเชือกที่ถูกเลี้ยงเพื่อเอ็นเตอร์เทนให้กับผู้มาเยือน โดยเฉพาะการขี่ช้าง แต่ในปัจจุบัน ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่คนรักช้างต้องมาเยือน และไม่ได้บริการให้บริการขี่ช้างอีกต่อไป แต่เป็นการเข้าให้ความรู้เรื่องช้างในด้านต่างๆ ซึ่งทำให้เราเริ่มหลงหลักเจ้าตัวโตนี้ขึ้นเรื่อยๆ  การเข้าถึงและใกล้ชิดกับช้างทั้งการอาบน้ำ

ปิดท้ายด้วยการทำ Energy Food ให้กับช้างสูงอายุ ซึ่งเป็นการนำข้าว เกลือ กล้วย มะขาม และรำ มาบดเข้าด้วยกัน ก่อนปั้นเป็นก้อนและโรยด้วยรำอีกที เพื่อให้ช้างสูงอายุที่อาจจะฟันไม่ดีได้กิน เป็นวิธีเพิ่มสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต โซเดียม และโปรตีน ให้ช้าง เกลือเค็มๆ ก็เหมือนดินโป่งที่ช้างชอบกิน

Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’ Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’
Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’ Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’

ก่อนที่จะกลับมาที่พักเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม Press Conference ของงานในครั้งนี้ตอนช่วงเย็น

กิจกรรมในวันที่ 2 ของโครงการ Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’ ถือว่ามีความเข้มข้นขึ้นในแง่ของการได้สัมผัสบนพื้นที่จริง และได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมศูนย์รักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาน้ำพุ จังหวัดกาญจนบุรี รวมถึงการเข้าพื้นที่ด้านในป่า เพื่อศึกษาเรื่องราวของธรรมชาติอย่างช้าง และประโยชน์ของต้นไผ่ที่ถือว่าเป็นพืชประเภทเดียวกับหญ้า

สื่อมวลชนได้มีโอกาสเยี่ยมชมโครงการที่ถือว่ามีความน่าสนใจ ซึ่งได้รับการผลักดันจากหัวหน้าเสรี นาคบุญ ในการนำสัตว์ป่าที่สูญพันธุ์ไปแล้วในธรรมชาติอย่างวัวแดง ปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ และประสบความสำเร็จถึงขนาดเป็นกรณีศึกษา เพราะวัวแดงสูญพันธุ์ไปจากป่าแถบนี้นับ 10 ปี จนกระทั่งต้องนำมาเพาะพันธุ์ในพื้นที่ก่อนที่จะปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ จนกระทั่งสามารถอยู่ได้ และแพร่พันธุ์ได้ด้วย

Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’

วัวแดงถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร เพราะเมื่อมีวัวแดงที่เป็นอาหาร ก็จะมีสัตว์ผู้ล่าอย่างเสือโคร่งและสัตว์ประเภทอื่นๆ ตามเข้ามา ซึ่งทั้งหมดถือเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าและจากการเปิดเผยของหัวหน้าเสรีพบว่า ในตอนนี้เริ่มมีประชากรเสือโคร่งเข้ามาอยู่ในพื้นที่นี้มากขึ้น เท่าที่นับได้จากการใช้กล้องตรวจจับมีไม่ต่ำกว่า 10 ตัวแล้ว

Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’

จากนั้น ทั้งหมดได้เดินทางเข้าไปในพื้นที่ป่า เพื่อตรวจดูร่องรอยของสัตว์ป่า ซึ่งได้มีโอกาสพบกับรอยเท้าช้าง และมีการให้ความรู้ในเรื่องของการดูอายุของช้างจากรอยเท้า รวมถึงดูขี้ช้าง

ซึ่งช้างถือเป็นสัตว์ที่ถูกเรียกว่า Umbrella Species แห่งผืนป่า เพราะเอื้อประโยชน์ให้กับสัตว์ที่ตัวเล็กกว่า ด้วยความที่ตัวใหญ่ และเดินอยู่ตลอดเวลา ทำให้เขาเป็นผู้หักร้างถางพง เปิดให้ป่ามีความโปร่งขึ้น และแสงสามารถส่องลงมายังพื้นดินทำให้พืชเติบโตขึ้น และการหักไม้ที่อยู่สูงๆ ลงมาข้างล่างก็จะทำให้สัตว์ขนาดเล็กสามารถใช้กินเป็นอาหารได้ ขณะที่มูลช้างเองก็ยังเป็นแหล่งอาหารของแมลงและสัตว์บางจำพวกด้วยเช่นกัน

Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’ Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’
Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’ Seiko ‘Save the Forest to Save Our Elephant’

นอกจากนั้น สื่อมวลนยังได้เรียนรู้ถึงประโยชน์และความสำคัญของไผ่ ซึ่งถือเป็นพืชที่มีประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อป่า โดยไผ่ถือเป็นพืชที่มีการขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว มีส่วนช่วยรักษาหน้าดินเพราะระบบรากมีความแข็งแรงมาก อีกทั้งเมล็ดที่ถูกผลิตออกมาก่อนช่วงที่ต้นไผ่จะหมดอายุไข ซึ่งมีอายุราวๆ 50-60 ปี ยังเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของคน และสัตว์ตัวเล็กๆ รวมถึงกวาง และเก้ง ไก่ฟ้า ที่มักจะมารวมกลุ่มกันกิน ซึ่งนั่นทำให้เป็นอีกจุดที่สามารถดึงดูดสัตว์นักล่าเข้ามาอยู่ในผืนป่าบริเวณนั้นๆ

โดยทั้งหมดสอดคล้องกับนาฬิกา 2 เรือนของ Seiko ที่ถือว่าถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการตระหนัดกถึงและรับรู้ถึงความสำคัญของสิ่งมีชีวิตที่เป็นแกนหลักของระบบนิเวศในธรรมชาติ นั่นคือ นาฬิกาช้างไทยในรหัส SRPK57K  ที่ใช้พื้นฐานของ Seiko Samurai และ Seiko Prospex Bamboo Grove Limited Edition SPB435J ซึ่งนำเสนอเรื่องราวของป่าไผ่

หลังจากเสร็จสิ้นการศึกษาธรรมชาติแล้ว ทีมงานทั้งหมดได้มีกิจกรรมร่วมกับนักเรียนในแถบพื้นที่นั้นเพื่อร่วมแรงร่วมใจในการท่าสีและปรับปรุงโรงนอนของศูนย์รักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาน้ำพุ พร้อมกับมอบเครื่องนอนจำนวนหนึ่งสำหรับใช้งาน และตั้งชื่อว่า ‘เรือนเวลา’ ซึ่งสถานที่แห่งนี้มีเด็กๆ มาร่วมกิจกรรมในการศึกษาธรรมชาติกันอยู่เสมอ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนและประชาชนรู้จักรักและช่วยกันดูแลรักษาระบบนิเวศวิทยาของป่าและสัตว์ป่า ให้มีความสมดุลทางธรรมชาติ

ถือเป็นอีกกิจรรมดีๆ ที่ Seiko ร่วมสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อสังคมไทย และเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน