การกลับมาของ Royal Oak “Jumbo” Extra-thin Openworked (รอยัล โอ๊ค “จัมโบ้” เอ็กซ์ตร้า-ธิน โอเพนเวิร์ค) พร้อมคาลิเบอร์ใหม่พร้อมดีไซน์ร่วมสมั
Audemars Piguet Royal Oak “Jumbo” Extra-thin Openworked กลับมาพร้อมกลไกใหม่
-
ความสวยงามและลงตัวในสไตล์ Openworked ที่มากับตัวเรือน 37มม.ของรุ่น Jumbo
-
2 ทางเลือกของตัวเรือนทั้งแบบสตีล และพิงค์โกลด์
-
ขับเคลื่อนด้วยคาลิเบอร์ 7124 ที่เป็นกลไก Selfwinding Extra-thin Openworked
Audemars Piguet (โอเดอมาร์ ปิเกต์) เปิดตัว Royal Oak “Jumbo” Extra-thin Openworked (รอยัล โอ๊ค “จัมโบ้” เอ็กซ์ตร้า-ธิน โอเพนเวิร์ค) เจเนอเรชั่นใหม่ล่าสุด (โมเดล 16204) เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปีของนาฬิกาคอลเลกชั่น Royal Oak นำเสนอ 2 โมเดลรังสรรค์จากสเตนเลส สตีล และพิ้งค์โกลด์ 18 กะรัต ขับเคลื่อนด้วยคาลิเบอร์ 7124 ที่เป็นกลไก Selfwinding Extra-thin Openworked (เซลฟ์ไวนด์ดิ้ง เอ็กซ์ตร้า-ธิน โอเพนเวิร์ค)โดยเฉพาะ
อีกทั้งยังมี “50-years” Oscillating weight ที่ออกแบบเฉพาะสำหรับวาระครบรอบ 50 ปี Royal Oak ที่สามารถมองเห็นได้ผ่านฝาหลังแซฟไฟร์ ด้วยดีไซน์นาฬิการ่วมสมัยเป็นการแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ของ Audemars Piguet ที่ประยุกต์เทคนิคดั้งเดิมเข้ากับจิตวิญญาณของคอลเลกชั่น Royal Oak
![]() |
![]() |
คาลิเบอร์ 7124 กลไกขนาดเล็กและความพิถีพิถันของงานฝีมือ
นาฬิกาคอลเลกชั่นนี้เป็นการเปิดตัวคาลิเบอร์ 7124 โดยกลไกชุดนี้คือเวอร์ชั่น Openworked ของ
คาลิเบอร์ 7121 ซึ่งเป็นกลไก Extra-thin Selfwinding ใหม่ล่าสุดของ Audemars Piguet ที่ใช้กับนาฬิกา Royal Oak โมเดล 16202 ที่เปิดตัวในปีนี้ โดยคาลิเบอร์ทั้ง 2 กลไกนี้ ได้รับการพัฒนาควบคู่กัน ซึ่งหมายความว่าตำแหน่งและรูปทรงของส่วนประกอบต่างๆ ที่อยู่ในกลไกทั้ง 2 กลไกนั้นได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างพิถีพิถันตั้งแต่ขั้นตอนแรกเพื่อให้ได้กลไก Openworked ที่มีความสมดุลที่สุด
คาลิเบอร์ 7124 ถูกออกแบบให้นำเสนอความแม่นยำ ประสิทธิภาพการทำงาน และงานสร้างสรรค์
Openworked แบบดั้งเดิม รวมถึงความบางด้วยความหนาเพียง 2.7 มิลลิเมตร กลไก Extra-thin Selfwinding Openworked บอกเวลาแบบชั่วโมงและนาทีนี้ให้พลังงานมากกว่ากลไกรุ่นก่อน อย่างคาลิเบอร์ 5122 ที่มีความหนา 3.05 มิลลิเมตร ด้วยบาร์เรล (Barrel) ที่ใหญ่ขึ้น
คาลิเบอร์ 7124 ยังมาพร้อม Oscillating Weight แบบร่วมสมัยติดตั้งอยู่บน Ball bearings ที่ใช้รีเวิร์สเซอร์ (Reverser) สองตัวที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถไขลานแบบสองทิศทาง ชิ้นส่วนสำหรับต้านการเคลื่อนไหวถูกติดตั้งลงกับบาลานซ์วีล (Balance wheel) เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียดสีที่ไม่จำเป็น
Audemars Piguet ได้เริ่มสร้างสรรค์กลไกแบบ Openworked ครั้งแรกในทศวรรษที่ 1930 โดยการสร้างกลไกนี้ต้องอาศัยความชำนาญและความพิถีพิถันของช่างทำนาฬิกา ซึ่งศิลปะของการสร้างสรรค์งาน Openworked คือการฉลุเอาวัสดุออกจากบริดจ์ (Bridge) และเพลท (Plate) ให้ได้มากที่สุดโดยไม่กระทบต่อฟังก์ชันการทำงานเพื่อให้สามารถมองเห็นความประณีตของกลไก
การตัดชิ้นส่วนเริ่มต้นของเมนเพลทและบริดจ์จะใช้เครื่องที่ควบคุมโดยการคำนวนของคอมพิวเตอร์ (CNC) แล้วจึงนำไปตัดด้วยระบบไฟฟ้า (EDM) กระบวนการนี้ช่วยให้สามารถขจัดวัสดุชิ้นเล็กเพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการได้อย่างแม่นยำ หลังจากนั้นส่วนประกอบแต่ละชิ้นจะถูกนำมาตกแต่งด้วยเทคนิคแบบดั้งเดิม การขัดเหลี่ยมมุมรูปตัว V รวมทั้งหมด 324 มุมสามารถเห็นได้จากทั้งสองด้านของนาฬิกา สะท้อนให้เห็นถึงความพิถีพิถันและคุณภาพของงานสร้างสรรค์ของงานฝีมือระดับสูง

![]() |
![]() |
![]() |
ที่สุดแห่งสุนทรียะแบบร่วมสมัย
ตัวเรือนและสายนาฬิกาของนาฬิการุ่น Royal Oak “Jumbo” Extra-thin Openworked ทั้ง 2 เรือนนำเสนอ
ดีเทลที่เป็นเอกลักษณ์ของ Audemars Piguet ทั้งการขัดลายซาตินและการเหลี่ยมมุมตั้งแต่ตัวเรือนไปจนถึงเข็มขัดล็อกสายนาฬิกา
นาฬิกาตัวเรือนสเตนเลส สตีล มาพร้อมกลไกแบบ Openworked สีโรเดียมที่เข้ากันกับสีตัวเรือน บริเวณฝาหลังสามารถมองเห็น “50 years” Oscillating weight พิ้งค์โกลด์ 22 กะรัตในโทนสีโรเดียมเช่นเดียวกับกลไก Openworked ซึ่งมีเฉพาะในนาฬิการอยัล โอ๊ค รุ่นสำหรับเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีตลอดปี 2022เท่านั้น เครื่องหมายบอกหลักชั่วโมงและเข็มนาฬิการังสรรค์ด้วยพิ้งค์โกลด์ 18 กะรัตเช่นเดียวกันกับชิ้นส่วนฟันเฟืองและบาลานซ์ วีล (Balance wheel) ที่มองเห็นผ่านบริดจ์สไตล์ Openworked มอบความคอนทราสต์ที่น่าสนใจพร้อมนำเสนอความงดงามสไตล์โมโนโครมที่ดูร่วมสมัย
ส่วนตัวเรือนพิ้งค์โกลด์ 18 กะรัต มีรายละเอียดของโทนสีที่ต่างกัน บริดจ์โอเพนเวิร์คและเมนเพลทสีเทา มาพร้อมบาร์เรลสีเทาอ่อนที่ตำแหน่ง 11 นาฬิกา เผยให้เห็นเมนสปริงแหล่งพลังงานหลักของนาฬิกา ส่วนบาร์เรลยังมีดีเทลที่ล้อไปกับสกรูหกเหลี่ยมไวท์โกลด์ที่ยึดให้ขอบตัวเรือนติดบนตัวเรือนได้อย่างลงตัว นอกจากนี้บาลานซ์ วีลและฟันเฟืองเฉดสีพิ้งค์โกลด์ ช่วยให้เครื่องหมายบอกหลักชั่วโมงและเข็มนาฬิกาพิ้งค์โกลด์ 18 กะรัตโดดเด่น เพิ่มมิติให้กับนาฬิกา ส่วน Oscillating weight พิ้งค์โกลด์ 22 กะรัตที่ออกแบบมาในวาระครบรอบนี้ยังสร้างความคอนทราสต์ในแบบเดียวกันบริเวณฝาหลัง


งานฝีมือแบบดั้งเดิมในแบบฉบับที่ร่วมสมัยยิ่งขึ้น
นาฬิกา Royal Oak มีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยมาในทุกทศวรรษ และมีนาฬิกากลไก Openworked ถูกรังสรรค์ออกมามากกว่า 50 โมเดลจนถึงปัจจุบัน นาฬิกาเหล่านี้ใช้กลไกที่หลากหลายและถูกออกแบบมาในขนาดและสไตล์ที่แตกต่างกัน อันเป็นผลมาจากความเชี่ยวชาญที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นในหลายทศวรรษ
ในช่วงเริ่มต้นของนาฬิการุ่นนี้ คาลิเบอร์ 2120 และกลไกต่างๆ รวมถึงคาลิเบอร์ 2121 ของนาฬิกา
Royal Oak เรือนแรกถูกซ่อนอยู่ภายในตัวเรือน จนกระทั่งเมื่อระบบควอตซ์ (Quartz) เข้ามาเปลี่ยนแปลงดีไซน์ให้เผยความงามของกลไกภายในเพื่อนำเสนอความพิถีพิถันของงานฝีมือแบบดั้งเดิม
ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ช่างทำนาฬิการุ่นใหม่ของ Audemars Piguet บางส่วน ได้กลับมาค้นพบศิลปะของดีไซน์แบบ Openworked ที่ได้พัฒนาไว้ตั้งแต่ทศวรรษ 1930 และ 1950 ด้วยการสนับสนุนของช่างฝีมือรุ่นพี่และการสร้างเวิร์กช็อปเฉพาะสำหรับการสร้างสรรค์นาฬิกา Openworked แห่งแรกขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของจอร์จ โกเลย์ (Georges Golay) กรรมการบริหารในยุคนั้นที่เริ่มต้นสร้างตัวอย่างกลไก Openworked คาลิเบอร์ 2120 นับร้อยชิ้นออกมา ซึ่งกลไกชนิดนี้ใช้เวลาในการผลิตยาวนานถึง 150 ชั่วโมงต่อ 1 ชิ้น
นาฬิกา Openworked เรือนแรกได้ถูกสร้างขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ปี 1973 (โมเดล 5442) และมีนาฬิกาอีกราว 30 เรือนที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นจนถึงปี 1976 และในปี 1978 มีการสร้างนาฬิกา Openworked ที่ใช้คาลิเบอร์ 2120 จำนวน 300 เรือนภายในเวิร์กช็อปของ Audemars Piguet ต่อมาในปี 1984 เวิร์กช็อปนี้มีช่างนาฬิกาเฉพาะสำหรับนาฬิกา Openworked กว่าสิบคน
นาฬิกากลไก Openworked เปิดตัวครั้งแรกในคอลเลกชั่น Royal Oak ปี 1981 โมเดล 5710BA ซึ่งเป็นนาฬิกาห้อยคอ หลังจากนั้นในปี 1986 ได้เปิดตัวโมเดล 25636 ที่ใช้คาลิเบอร์ 2120/2800 ซึ่งเป็นกลไกอัลตร้า-ธิน เซลฟ์ไวนด์ดิ้ง เพอร์เพทชวล คาเลนดาร์ (Ultra-thin selfwinding perpetual calendar) ซึ่งกลไก Openworked ได้เข้ามาอยู่ในคอลเลกชั่นอย่างแท้จริงช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ Audemars Piguet ได้นำเสนอนาฬิการอยัล โอ๊คแบบ Openworked หลากหลายขนาดและสไตล์
นาฬิกา Royal Oak “Jumbo” Openworked เรือนแรกถูกเปิดตัวในปี 1992 (โมเดล 14811) หน้าปัดถูกฉลุลวดลายไม้โอ๊คสุดประณีตสำหรับประมูลเพื่อสนับสนุนมูลนิธิของ Audemars Piguet นาฬิการุ่น “Jumbo” Openworked เรือนอื่นอีกจำนวนหนึ่งที่ผลิตตามมานั้นใช้เอ็กซ์ตร้า-ธิน คาลิเบอร์ 2120 จนถึงปี 2000 และยังมีบางรุ่นมาพร้อมเข็มนาฬิกาประดับอัญมณี ( โมเดล 14789 14793 และ 14814) อีกหลายรุ่นมาพร้อมดีไซน์ที่มีสไตล์โดดเด่น อย่างโมเดล 14884 และ 12518 (โมเดลพิเศษเพื่อฉลองครบรอบ 125 ปี Audemars Piguet) ที่มาพร้อมดีเทลของสมอเรือบนพื้นหลังรูปคลื่นล้อมรอบด้วยเชือก
หลังจากนั้นกลไก Openworked ได้กลับมาในคอลเลกชั่นนาฬิกาจัมโบ้อีกครั้ง ในปี 2010 ในโมเดล 15305 ที่ใช้คาลิเบอร์ 3129 ที่มีความหนา 4.31 มิลลิเมตร กลไกที่รังสรรค์ขึ้นด้วยเทคนิคกัลวานิค (Galvanic) เสริมให้ตัวเรือนสแตนเลส สตีลดูหรูหรายิ่งขึ้น และ 2 ปีต่อมา Audemars Piguet ได้เปิดตัวนาฬิการุ่นจัมโบ้ กลไกโอเพนเวิร์ครุ่นลิมิเต็ดเอดิชันในโทนสีเทาเพื่อวาระครบรอบ 40 ปีของคอลเลกชั่น Royal Oak พร้อมขับเคลื่อนด้วยคาลิเบอร์ 5122 และตัวเรือนแพลตินัม 950 นอกจากนี้ในปี 2014 ยังมีการเปิดตัวรุ่นพิ้งค์โกลด์ 18 กะรัตออกมาด้วย

ในปีนี้ นาฬิการุ่น Audemars Piguet Royal Oak “Jumbo” Extra-thin Openworked ได้กลับมาเปิดตัวอีกครั้งพร้อมกลไกใหม่และดีไซน์สุดประณีต ที่ยิ่งตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลงานอันเป็นที่สุดของ Audemars Piguet
สำหรับราคาและรุ่นที่จำหน่ายประกอบด้วย
- 16204ST.OO.1240ST.01 ตัวเรือนสตีล ราคา 80,800 ฟรังก์สวิสส์
- 16204OR.OO.1240OR.01 ตัวเรือนพิงค์โกลด์ ไม่ระบุราคา
Fanpage : https://www.facebook.com/anadigionline/