Patek Philippe เผยโฉมนาฬิกาข้อมือจักรกลโครโนกราฟรุ่นแรก ซึ่งสามารถจับวัดช่วงเวลาสั้นๆ ผ่านกลไกสมรรถนะสูง ชุดใหม่ที่แม่นยําสูงถึงระดับหนึ่งส่วนสิบวินาที (tenths-of-a-second)
Patek Philippe 1/10th Second Monopusher Chronograph เพียบพร้อมด้วยฟังก์ชั่นบนความหรูหรา
Patek Philippe (ปาเต็ก ฟิลลิปป์) ตอกย้ำอีกครั้งถึงความสามารถและจิตวิญญาณแห่งนวัตกรรม ในสาขาของการจับวัดช่วงเวลาสั้น ๆ ได้อย่างแม่นยํา ผ่านการนําเสนอกลไกแบบไขลานด้วยมือ พร้อมทั้งจักรกลโครโนกราฟที่แยกกัน 2 ชุด และเข็มแบบเดินเรียบ (sweep hands) โดยที่หนึ่งในสองเข็มโครโนกราฟนี้ต่างทําหน้าที่แสดงผลการจับเวลาหนึ่งส่วนสิบวินาที (tenths of a second) ได้อย่างปราดเปรียวและแม่นยํากับรุ่น Patek Philippe 1/10th Second Monopusher Chronograph
กลไกรุ่นนี้มาพร้อมการขับเคลื่อนของกลไกคาลิเบอร์ความถี่สูง (5 เฮิรตซ์) สุดไฮเทค และอีก 31 สิทธิบัตร ที่มีถึง 7 เจ็ดสิทธิบัตรที่เป็นของใหม่สําหรับกลไกจักรกลนี้โดยเฉพาะ กลไกถูกบรรจุภายในตัวเรือนแพลทินัมคู่หน้าปัดสีน้ำเงินและตกแต่งรายละเอียดด้วยสีแดงอันโดดเด่น ภายใต้งานออกแบบสไตล์สปอร์ตนี้ ทําให้ตอกย้ำถึงทั้งเทคนิคและสมรรถนะขั้นสูง โดยเฉพาะกลไกโครโนกราฟจับเวลาหนึ่งส่วนสิบของหนึ่งวินาทีนี้จะควบคุมผ่านปุ่มกดเดี่ยว (tenth-of-a-second monopusher chronograph) ซึ่งผลิตขึ้นในจํานวนจํากัด เนื่องด้วยความ ยากและซับซ้อนในการรังสรรค์เทียบเท่ากับทูร์บิญอง (tourbillon), มินิท รีพีทเตอร์ (minute repeater) หรือ สปลิท-เซคกันด์โครโนกราฟ (split-seconds chronograph) Patek Philippe จึงพร้อมมอบความน่าหลงใหลแด่ผู้ซึ่งชื่นชอบในเรือนเวลาจักรกลอันซับซ้อนระดับสูง (grand complications) ด้วยเสน่ห์อันดึงดูดใจครั้งใหม่ในผลงานล่าสุดชิ้นนี้
นาฬิกาโครโนกราฟของ Patek Philippe นั้นมีประวัติศาสตร์ยาวนาน นับตั้งแต่ปี 1856 ที่โรงงานการผลิตแห่งนี้ได้สร้างความโดดเด่นขึ้น ด้วยคุณสมบัติอันล้ำเลิศของบรรดานาฬิกาพกแบบโครโนกราฟ ทั้งที่มีเข็มชี้ หรือ ไร้เข็มชี้รัตตราปองต์ (rattrapante hands) ซึ่งมักถูกผสมผสานเข้ากับความสลับซับซ้อนอื่นๆ เช่น ปฏิทินถาวร (perpetual calendars) หรือจักรกลตีบอกเวลา (minute repeaters) โดยในราวปี 1930 – 1931 โรงงานการผลิตแห่งนี้ได้พัฒนานาฬิกาพกซึ่งมาพร้อมจักรกลโครโนกราฟแบบหนึ่งส่วนสิบวินาที (tenth-of-a-second chronograph) ที่ปัจจุบันได้นํามาจัดแสดงให้ชื่นชมถึงความสลับซับซ้อนได้ ณ พิพิธภัณฑ์ Patek Philippe Museum (Inv. P-340) หรือ ในช่วงต้นปี 1923 ภายใต้คําสั่งซื้อพิเศษที่ Patek Philippe ได้ริเริ่มรังสรรค์นาฬิกาโครโนกราฟสปลิท-เซคกันด์ (split-seconds chronograph) ขึ้นเป็นครั้งแรก ขณะที่เรือนเวลาหนึ่งเดียวนี้ยังได้เปิดตัวตามมาในช่วงต้นปี 1927 โดยนาฬิกาข้อมือโครโนกราฟที่มีหรือไร้เข็มชี้รัตตราปองต์ได้ผลิตเป็นรุ่นปกติครั้งแรก รวมถึงนาฬิการุ่นตํานานอย่าง Ref. 130 ซึ่งผลิตขึ้น นับจากปีค.ศ.1934เป็นต้นมาจวบจนถึงต้นทศวรรษที่1960ก็ยังคงอยู่ท่ามกลางผลงานเหล่านี้เช่นกัน
ในช่วงทศวรรษแรกๆ ของสหัสวรรษที่สามนั้น ได้กลายเป็นช่วงเวลาอันมั่งคั่งสมบูรณ์ สําหรับการสร้างสรรค์เรือนเวลาชนิดจับวัดเวลาสั้น ๆ โดยนับจากปี 2005 เป็นต้นมา PatekPhilippe ได้พัฒนาบรรดากลไกโครโนกราฟอันหลากหลายทั้งแบบเดี่ยวและที่เสริมเข้ากับความสลับซับซ้อนอื่นๆ เพิ่มเติม (เช่น เข็มรัตตราปองต์ (rattrapante hands) มินิท รีพีทเตอร์ (minute repeaters) ปฏิทินถาวร (perpetual calendars) ปฏิทินเต็มรูปแบบ (AnnualCalendars) แสดงเวลาทั่วโลก(WorldTime)) ซึ่งทั้งหมดล้วนออกแบบและรังสรรค์ขึ้นภายในห้องปฏิบัตกิาร ศิลป์ของโรงงาน โดยกลไกจักรกลโครโนกราฟเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมและประสิทธิภาพสูงสุดที่ผ่านการจดสิทธิบัตรมาแล้วมากมาย และวันนี้ยังคงหลอมรวมอยู่ภายในคอลเลกชันปกติ ด้วยผลงานที่แตกต่างกันกว่า 20 รุ่นสําหรับทั้งสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
Patek Philippe 1/10th Second Monopusher Chronograph
การควบคุมพลังงานและความเท่ียงตรงแม่นยําระดับสูง
ความซับซ้อนของ Patek Philippe Grand Complications ถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยโครงสร้างและขั้นตอนอันซับซ้อน เทียบเท่ากับทูร์บิญอง (tourbillon) มินิท รีพีทเตอร์ (minute repeater) หรือสปลิท-เซคกันด์ โครโนกราฟ (split-seconds chronograph) และสําหรับความถี่ระดับ 5 เฮิรตซ์ รวมถึงการประสานจักรกลโครโนกราฟจับเวลาวินาทีด้วยเข็มความเร็วสูง ภายในกลไกคาลิเบอร์ CH 29- 535 PS 1/10 จึงจําเป็นต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทีมวิศวกรจึงต้องปรับทุกมุมและทุกรายละเอียดของกลไกเพ่ือควบคุมและจํากัดความ ต้องการของพลังงานนี้ และแน่นอนว่า “ความเที่ยงตรง” นั้นคือข้อกําหนดและเป็นสิ่งที่ต้องคํานึงถึงสําหรับการพัฒนาของกลไกชุดนี้ทั้งหมด
โดยความท้าทายน้ันเริ่มต้นตั้งแต่เมนสปริงเดี่ยว (single mainspring) ที่เป็นหลักในการมอบพลังงานให้กับกลไกทั้งชุด ซึ่ง Patek Philippe ได้ปรับปรุงชิ้นส่วนนี้ขึ้นใหม่พร้อมท้ังเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานเพื่อรักษาระดับความถี่ของจักรกรอกหรือบาลานซ์สปริง (balancespring) ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ และเพิ่มพลังงานเท่าที่จะทําได้เพื่อให้มั่นใจถึงเสถียรภาพของอัตราการทํางานได้อย่างสูงสุด รวมถึงการเพิ่มระดับ พลังงานสํารองนั้น แกนกระปุกลาน (barrel arbor) จึงถูกลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลง บวกกับเพิ่มจํานวนขดเมนสปริง (mainspring coils) อีกทั้งช่องบาก (notch) ที่เป็นหนึ่งในสิทธิบัตรของแบรนด์ ซึ่งจะทําหน้าที่ช่วยลดแรงดึงของสายรั้งแบบเลื่อน (slip bridle) ระหว่างกระบวนการไขลาน ดังนั้น จึงเป็นการขจัดความเสี่ยงจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากกําลังที่เพิ่มขึ้น
จักรกลเรกูเลเตอร์ชนิดไฮเทค
Patek Philippe ตัดสินใจใช้ชุด Oscillomax® ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยแผนก “Patek Philippe Advanced Research” เพื่อรับมือ กับความท้าทายสามประการ คือ ประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ และอัตราความเที่ยงตรงแม่นยํา โดยจักรกลเรกูเลเตอร์ (regulator mechanism) สุดไฮเทคนี้ได้เปิดตัวในปี 2011 และผ่านการจดสิทธิบัตรถึง 17 ฉบับ ทั้งยังประกอบด้วยสามชิ้นส่วน ที่อาศัยข้อได้เปรียบทั้งหมดของเทคโนโลยี Silinvar® ซึ่งเป็นการพัฒนามาจากอนุพันธุ์ของซิลิคอน
ด้วยคุณลักษณะพิเศษทั้งทาง โครงสร้างและจักรกล (มีน้ำหนักเบา, ทนทาน, ต้านทานแม่เหล็ก และอื่นๆ) โดยชุดประกอบสุดไฮเทคนี้จะทํางานด้วยจักรกรอก หรือบาลานซ์สปริง (balance spring) Spiromax® เข้ากับขั้วโค้ง (terminal curve) ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร และแกนด้านใน (inner boss) (ซึ่งผ่านการจดสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 2017 ใน Ref. 5650) พร้อมทั้งชุดเอสเคปเมนท์ (escapement) Pulsomax® ที่ประกอบด้วยคาน (lever) และจักรเหล็ก (escape wheel) ในรูปทรงเรขาคณิตที่ผ่านการปรับปรุงเพิ่มเติม เช่นเดียวกับบาลานซ์ (balance) Gyromax® ทําจาก Silinvar® พร้อมฝังลวดลายทอง โดยนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่การเปิดตัวของนาฬิกา perpetual calendar “Patek Philippe Advanced Research Ref. 5550P” (ปี 2011) ที่ Patek Philippe ได้เพิ่มชุด Oscillomax® ไว้ในคอลเลกชันปัจจุบัน ของแบรนด์ ซึ่งเป็นการเล่นกับบทบาทอันแน่วแน่ในการมอบซึ่งสมรรถนะพิเศษให้กับกลไกคาลิเบอร์ใหม่อย่าง CH 29-535 PS 1/10 และช่วยให้สามารถมอบอัตราความเที่ยงตรงสูง ด้วยค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดเพียง -3/+2 วินาทีต่อวัน อันเป็นคุณสมบัติเฉพาะ ที่กํากับโดย PatekPhilippeSeal แม้ว่าจะเป็นกลไกที่ใช้พลังงานสูงขึ้นอย่างชัดเจน
การแสดงแบบร่วมศูนย์กลางผ่านการจดสิทธิบัตร
การตัดสินใจครั้งน้ีของ Patek Philippe ได้มอบความสามารถในการอ่านค่าได้อย่างดี โดยยังคงรักษาไว้ซึ่งปรัชญาการสร้างสรรค์ของโรงงาน ซึ่งมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และเป็นสิ่งสําคัญที่ต้องมั่นใจได้ถึงการแสดงซึ่งจัดวางไว้อย่างลงตัว อ่านค่าได้รวดเร็ว และเชื่อถือได้ การจับเวลาหนึ่งส่วนสิบวินาที (tenths of a second) รวมถึงแต่ละนาทีและทุกวินาทีของโครโนกราฟ
ด้วยเหตุนี้ ทีมวิศวกรจึงได้คิดค้นระบบซึ่งผ่านการจดสิทธิบัตรสําหรับแสดงการจับวัดวินาที และเศษส่วนของวินาทีแบบร่วมศูนย์กลางเดียวกัน โดยนาฬิการุ่นนี้ประกอบด้วยเข็มโครโนกราฟแบบเดินเรียบถึงสองเข็ม แต่ละเข็มนั้นขับเคลื่อนโดยจักรกลอิสระของตนเอง ซึ่งเข็มชี้ที่แสดง การหมุนรอบอย่างสมบูรณ์ต่อหนึ่งนาทีนั้นจะแสดงการจับวินาทีตามแบบทั่วไป ขณะที่อีกเข็มหนึ่ง (เข็มตกแต่งแล็กเกอร์สีแดงใน Ref. 5470P- 001 รุ่นใหม่) จะหมุนหนึ่งรอบต่อ 12 วินาที ซึ่งเป็นการหมุนที่เร็วกว่าเข็มโครโนกราฟแบบปกติถึงห้าเท่า และหมุนเดินเรียบบน 12 ส่วน ที่ถูกแบ่งย่อยออกเป็นหลักสิบต่าง ๆ ผู้ใช้จะสามารถอ่านค่าการจับเวลาวินาทีที่ล่วงผ่านได้อย่างทันทีภายใต้รูปแบบเช่นนี้ ซึ่งนําทางโดย มาร์กเกอร์รูปทรงไข่มุก และบนสเกลรางรถไฟรอบนอกก็ยังมอบการอ่านค่าการจับเวลาหนึ่งส่วนสิบวินาที (tenths of a second) ที่ล่วงผ่านจากมาร์กเกอร์สีแดงหลังสุด โดยนาทีต่าง ๆ ของการจับเวลาสั้น ๆ นี้จะแสดงบนหน้าปัดย่อยจับเวลา 30 นาทีแบบฉับพลัน ณ ตําแหน่ง 3 นาฬิกา
นับเป็นความง่ายดายอย่างมากในการใช้งาน หัวใจหลักของระบบซึ่งผ่านการจดสิทธิบัตรนี้นับเป็นขุมทรัพย์อย่างแท้จริงแห่งทางออก อันอัจฉริยะภายในกลไกที่ไม่อาจมองเห็นได้ และเหมือนเช่นทุกครั้งที่ Patek Philippe ได้ยกระดับและรังสรรค์คุณสมบัติเฉพาะซึ่งบรรจบ กับความต้องการในทุก ๆ มิติ ให้กับคาลิเบอร์รุ่นใหม่นี้ ซึ่งไม่เพียงแค่สามารถจับวัดและแสดงค่าหนึ่งส่วนสิบวินาที (tenths of a second) แต่ยังรักษาไว้ซึ่งความเที่ยงตรงแม่นยําระหว่างการจับเวลา 30 นาทีของโครโนกราฟได้อีกด้วย
นอกจากนั้น คาลิเบอร์ CH 29-535 PS 1/10 ถูกสร้างขึ้นด้วยความกะทัดรัด ขณะที่ยังคงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเดิมของฐานคาลิเบอร์ (29.6 มม.) และหนาขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่าน้ัน (จาก 5.35 มม. เป็น 6.96 มม.) พร้อมทั้งบรรจุไว้ด้วยจักรกลโครโนกราฟถึงสองชุด และมีชิ้นส่วนประกอบรวมกันทั้งหมดถึง 396 ชิ้น ในฐานะความสําเร็จอย่างแท้จริงของการย่อส่วนกลไกชุดใหม่ให้มีความหนาน้อยกว่ากลไกรัตตราปองต์ คาลิเบอร์ CHR 29-535 PS (7.1 มม.)
การเคลื่อนไหวของเข็มชี้ที่ลื่นไหลและสอดคล้องได้อย่างสมบูรณ์แบบ
อีกหนึ่งความท้าทายอันเกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนากลไกคาลิเบอร์ CH 29-535 PS 1/10 ที่สืบเนื่องกับคุณภาพของการแสดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแสดงผลจับเวลาหนึ่งส่วนสิบวินาที (tenths of a second) โดยการแสดงโครโนกราฟทั้งสองชุดนั้น จะต้องสอดคล้องกันอย่างสมบูรณ์ แม้ว่าจะเป็นการหมุนด้วยความเร็วสูงแต่เข็มแสดงหนึ่งส่วนสิบวินาที (tenth-of-a-second hand) จะต้องเคลื่อนที่ไดอ้ย่างลื่นไหลปราศจากการกระโดดหรือสั่นโดยทีมวิศวกรของโรงงานการผลิตแห่งนี้ได้พัฒนาหนทางแห่งนวัตกรรมขึ้น
ด้วยจักรกลสำหรับแสดงการจับเวลาหลักสิบของหนึ่งวินาที (tenths of a second) นั้นได้รับพลังงานผ่านเฟืองขับ (driving wheel) จากเฟืองที่สี่ของกลไกฐาน โดย Patek Philippe ได้ออกแบบเฟืองขับภายใต้การจัดระบบแบบสองส่วนคือ เฟืองด้านบนพร้อมด้วยซี่แบบยืดหยุ่น และในส่วนของเฟืองด้านล่างที่มาพร้อมกับซี่แบบแข็ง ยังไปสู่ผลลัพธ์จากหลักการต้านการสะท้อนกลับ (anti-backlash) ซึ่งผ่านการจดสิทธิบัตรที่ช่วยในแง่ของความกะทัดรัดและการประหยัดพลังงาน โดยฟันของเฟืองขับนี้จะผลักกำลังซึ่งยืดหยุ่น บนคลัทช์วีล (clutch wheel) ดังนั้น จึงสามารถช่วยขจัดความเสี่ยงในการสั่นของเข็มชี้ได้อย่างดีเยี่ยม
ทันทีที่จักรกลโครโนกราฟเริ่มทํางาน เฟืองขับการจับเวลาหนึ่งส่วนสิบวินาที (tenth-of-a-second driving wheel) (ด้วยการหมุนหนึ่งรอบต่อนาที) จะประสานเข้ากับเฟืองปีกนกตัวเล็กของการจับเวลาหนึ่งส่วนสิบวินาที (tenth-of-a-second pinion) ที่หมุนหนึ่งรอบใน 12 วินาที (เป็นการหมุนที่เร็วขึ้นถึงห้าเท่า) และเพื่อให้เกิด “การเร่ง” (“acceleration”) นี้ Patek Philippe ได้มอบเฟืองปีกนกตัวเล็กของการจับเวลาหนึ่งส่วนสิบวินาที (tenth-of-a-second pinion) ที่มาพร้อมกับฟันเฟืองเล็ก ๆ โดยฟันเฟือง 136 ซี่บนเฟืองปีกนกตัวเล็กนี้จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1.469 มม. และมีซี่ฟันหนาเพียง 30 ไมครอน (μm) ซึ่งกําลังเสริมอัดแรงนี้จะขับกําลังโดยคลัทช์วีล (clutch wheel) บนเฟืองปีกนกตัวเล็กที่ควบคุมโดยซี่เฟืองแบคแลช (tooth backlash) ทุกชิ้นส่วนของการจับวัดเวลามากมายเหล่านี้ล้วนช่วยเสริมความแม่นยําของการแสดงได้อย่างสูงสุด
อุปกรณ์ดูดซับแรงสั่นสะเทือนท่ีได้ผ่านการพิสูจน์มาอย่างถี่ถ้วน
หัวใจหลักของแบรนด์คือการให้ความสําคัญกับผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางนั้น นับเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันในการจับวัดเวลาที่จะขาดไม่ได้ และยังเชื่อมโยงไปถึงอุปกรณ์ดูดซับแรงสั่นสะเทือน (shock absorber) ซึ่งในกลไกคาลิเบอร์ใหม่ CH 29-535 PS 1/10 จําเป็นต้องจัดการ กับทุกความต้องการและความเสี่ยงทั้งหมดที่นาฬิกาอาจต้องอยู่ท่ามกลางสถานการณ์นั้น ๆ ในการใช้งานประจําวัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นี้ Patek Philippe ได้พัฒนาจักรกลจดสิทธิบัตรสองฉบับขึ้น หนึ่งในนั้นคือตะขอจับอุปกรณ์ดูดซับแรงสั่นสะเทือน (shock absorber hook) ที่จะช่วยยึดคลัทช์โยก (clutch rocker) ระหว่างกระบวนการจับวัดเวลาสั้นๆ ทั้งหมด อย่างที่สองคือการใช้ “ความไม่สมดุล” (“unbalances”) หรือการหนีศูนย์ (ศูนย์กลางต่าง ๆ ของแรงโน้มถ่วงที่แตกต่างจากศูนย์กลางต่าง ๆ ของการหมุน) ของชิ้นส่วนต่าง ๆ ในจักรกลโครโนกราฟแบบจับเวลาหนึ่งส่วนสิบวินาที (tenths-of-a-second chronograph) และในกรณีที่เกิดแรงกระแทก หรือสั่นสะเทือน ค่าการเร่งต่าง ๆ ของชิ้นส่วนที่อยู่ท่ามกลางแรงสั่นสะเทือนนั้นจะถูกชดเชยแทนที่จะเป็นการสะสม ผลลัพธ์ที่ได้คือทุกชิ้นส่วนทั้งหมดนั้นจะยังคงอยู่ในตําแหน่งที่ต้องการ และขจัดซึ่งผลกระทบที่มีต่อการทํางาน ณ เวลาน้ัน ๆ ของนาฬิกา
โครโนกราฟแบบโมโนพุชเชอร์
คุณสมบัติอันโดดเด่นท้ายสุดนั้นคือโครโนกราฟซึ่งมีปุ่มกดเดียว ณ ตําแหน่ง 2 นาฬิกา ที่สามารถใช้งานได้ทั้งการเริ่มต้น การหยุด และการรีเซตคําสั่งใหม่ทั้งหมดได้อย่างต่อเนื่อง โดยการจัดวางตําแหน่งของปุ่มกดเดี่ยวนี้ชี้ชวนให้นึกถึงนาฬิกาโครโนกราฟแบบคลาสสิก และมอบซึ่งความพึงพอใจให้กับผู้ที่หลงใหลในเรือนเวลาอันเปี่ยมด้วยเทคนิค นอกเหนือจากคุณสมบัติพิเศษที่ผ่านการจดสิทธิบัตรของ กลไกคาลิเบอร์ CH 29-535 PS 1/10 แล้ว ในนาฬิการุ่นใหม่นี้ยังนับเป็นตัวแทนถึงการหล่อหลอมอย่างกลมกลืน ระหว่างประเพณีและนวัตกรรมที่ถ่ายทอดถึงแก่นแท้อันเป็นหัวใจแห่งปรัชญาของ Patek Philippe
ฝาหลังกระจกแซฟไฟร์ (สามารถถอดเปลี่ยนได้ สลับกับฝาหลังแพลทินัมแบบทึบที่ส่งมาพร้อมกับนาฬิกา) ซึ่งมอบมุมมองการมองเห็น อันแสนพิเศษของกลไกคาลิเบอร์ CH 29-535 PS 1/10 พร้อมด้วยชิ้นส่วนอันซับซ้อน และงานตกแต่งที่นํามารังสรรค์อย่างประณีตวิจิตร (สะพานจักรพร้อมด้วยขอบขัดลบมุมและขัดเงา ลวดลายริ้วแบบเจนีวา (Geneva stripes) และอื่น ๆ) รวมถึงการแกะสลักด้วย ข้อความฉาบทอง “Oscillomax 5 Hz” และ “GyromaxSi” บนสะพานจักร ซึ่งอ้างอิงถึงนวัตกรรมของชิ้นส่วนกลไกที่นํามาใช้อีกด้วย
ดีไซน์สไตล์สปอร์ตอย่างแท้จริง
กลไกซึ่งอุทิศทั้งหมดให้กับสมรรถนะและการจับวัดเวลาสั้น ๆ จำเป็นต้องได้รับการปกป้องเป็นอย่างดี ดังนั้น Patek Philippe จึงได้สร้างสรรค์ ภาพลักษณ์ภายนอกด้วยดีไซน์สไตล์สปอร์ตที่มิอาจเทียบเคียงได้ และเพื่อรังสรรค์ซึ่งการหลอมรวมความก้าวหน้าทางเทคนิคทั้งหมดไว้นี้ โรงงานการผลิตจึงได้เลือกใช้แพลทินัม ซึ่งเป็นโลหะชนิดล้ำค่าสูงสุด กระนั้นก็เป็นวัสดุที่ยากต่อการผลิตสำหรับขึ้นรูปเช่นกัน ภายใต้รูปทรงกลมมนนี้เป็นการออกแบบเดียวกันกับผลงานเรือนเวลาจักรกลไขลานด้วยมืออย่าง Ref. 5370 Split Seconds Chronograph ซึ่งเปิดตัวในปี ค.ศ. 2015 และด้วยคุณสมบัติพิเศษกับขอบตัวเรือนโค้งเว้าที่สร้างให้เห็นภาพแห่งความต่อเนื่องอย่างสมบูรณ์แบบ สู่กระจกแซฟไฟร์โดมโค้งเล็กน้อย ขณะที่ขอบข้างตัวเรือนต่าง ๆ เว้าลงเล็กน้อยและขัดด้านแบบซาติน (satin-finished) ในส่วนของหูตัวเรือน สลักไว้ด้วยความโค้งอันลุ่มลึก และถ่ายทอดสไตล์การตกแต่งแบบคาโบชอง ณ ส่วนท้ายของสปริงบาร์ (spring bars) เฉกเช่นเดียวกับ นาฬิการุ่นแพลทินัมทั้งหมดของ Patek Philippe ที่ Ref. 5470P-001 คงไว้ด้วยการประดับเพชรเจียระไนทรงบริลเลียนต์คัตไร้ที่ติ จํานวนหนึ่งเม็ด ณ กึ่งกลางระหว่างหูตัวเรือนทั้งสองด้าน ซึ่งตรงกับตําแหน่ง 6 นาฬิกา
สีน้ำเงินสง่างามของหน้าปัดยังผสานกลมกลืนด้วยแสงสะท้อนอันแวววาวของตัวเรือนแพลทินัม พร้อมกันนี้ยังนำเสนอภาพลักษณ์ที่ตัดกัน อย่างลงตัวและสมบูรณ์แบบ เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการมองเห็นการแสดงค่าได้อย่างชัดเจน โดยการจับเวลาวินาทีโครโนกราฟนั้นจะแสดง ไว้ด้วยเข็มชี้สตีลชุบโรเดียมและขัดแต่งแบบแซนด์บลาสต์ (sandblasted) บนสเกลนาทีที่ประดับมาร์กเกอร์รูปทรงไข่มุกทองเล็ก ๆ ส่วนการจับเวลาหนึ่งส่วนสิบวินาที (tenths of a second) นั้นจะแสดงด้วยเข็มชี้ทรงเพรียวบางกว่าซึ่งทำจาก Silinvar® และด้วยน้ำหนักที่เบามากทําให้วัสดุสุดไฮเทคนี้ช่วยประหยัดพลังงาน แต่ยังคงความแข็งแรงทนทานที่จำเป็นในการต้านแรงสั่นสะเทือน ที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อโครโนกราฟหยุดการทำงานในทันที อันเป็นผลลัพธ์มาจากกระบวนการใหม่ที่ผ่านการจดสิทธิบัตรสำหรับการตกแต่ง เข็มชี้ชนิด Silinvar® ซึ่งในรุ่นนี้ตกแต่งด้วยแล็กเกอร์สีแดง ส่วนสิทธิบัตรที่สองนั้นเกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อของท่อกับเข็มชี้ Silinvar® โดยการบัดกรีแข็ง (blazing) ซึ่งPatekPhilippeประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในการใช้วัสดุเฉพาะนี้เพื่อสร้างสรรค์ออกมาเป็นคุณลักษณะ ภายนอกของนาฬิกา นอกจากนี้สีแดงของเข็มชี้ยังสะท้อนถึงเฉดสีเดียวกันกับมาร์กเกอร์ของสเกลแบบรางรถไฟ (railway-track scale) เพื่อการอ่านค่าหนึ่งส่วนสิบวินาที (tenths of a second) ได้อย่างชัดเจน ตราบใดที่โครโนกราฟไม่ได้ทำงาน เข็มโครโนกราฟสีแดงและสีเทานี้จะถูกวางซ้อนกัน ทำให้ดูคล้ายว่ามีเพียงเข็มเดียว ในส่วนของการจับวัดเวลาสั้น ๆ จะเริ่มต้นได้ผ่านปุ่มกด ณ ตำแหน่ง 2 นาฬิกา ซึ่งจะเปิดการทำงานราวดั่งการเริงระบำของเข็มชี้ซึ่งหมุนด้วยสองความเร็วที่แยกกัน โดยหน้าปัดย่อยจับเวลา 30 นาทีแบบฉับพลัน ณ ตำแหน่ง 3 นาฬิกา และหน้าปัดวินาทีเล็ก ณ ตำแหน่ง 9 นาฬิกา ที่มาพร้อมกับสเกลแบบรางรถไฟอันคมชัด จะช่วยปรับปรุง และเสริมความสามารถในการมองเห็นของข้อมูลได้ตามลําดับ
สำหรับ Ref. 5470P-001 รุ่นใหม่ มาพร้อมสายหนังวัวสีน้ําเงินเข้ม พร้อมทั้งลวดลายผ้าผิวนูนและตกแต่งตะเข็บสายด้วยสีแดง ซึ่งกลมกลืนสมบูรณ์แบบไปกับสีสันของหน้าปัด โดยตัวพับล็อกสายแบบบานพับซึ่งทำจากแพลทินัมยังช่วยเสริมความมั่นใจ และความสะดวกสบาย รวมถึงความปลอดภัยบนข้อมือ
เจ็ดสิทธิบัตรของกลไกคาลิเบอร์ใหม่ CH 29-535 PS 1/10
- การแสดงร่วมศูนย์กลาง (Concentric display) (Patent WO2012104688A1) โหมดการแสดงนี้มีพื้นฐานมาจากเข็มชี้แบบเดินเรียบสองเข็ม ซึ่งสามารถเสริมความมั่นใจในการอ่านค่าทั้งแบบวินาที และแบบเศษส่วนของหนึ่งวินาทีไดอ้ย่างง่ายดายรวดเร็วและปลอดภัย
- ช่องบากบนแกนกระปุกลาน (Notch in the barrel arbor) (Patent WO2017005394A1) การเพิ่มช่องบากนี้จะช่วยลดแรงดึงที่ผลักกําลังโดยตะขอสปริง ขณะที่เมนสปริงกำลังถูกขึ้นลาน นอกจากนี้ยังช่วยให้แกนกระปุกลาน
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็กลงซึ่งช่วยเพิ่มพลังงานที่เก็บสะสมในเมนสปริงด้วยการขดสปริงเพิ่มเติม
- เฟืองขับ 1/10 ด้วยคุณสมบัติการต้านการสะท้อนกลับ (1/10 driving wheel with anti-backlash feature) (European patent application EP3042250A1) ดีไซน์แบบสองระดับ (เฟืองด้านบนพร้อมด้วยซี่แบบยืดหยุ่น และเฟืองด้านล่างพร้อมด้วยซี่แบบแข็ง) นี้ ช่วยให้สามารถสร้างสรรค์ เฟืองที่ต้านอาการแบคแลชได้ ซึ่งมีทั้งขนาดกะทัดรัดและยังใช้พลังงานน้อย
- โครโนกราฟพร้อมทั้งตะขอดูดซับแรงสั่นสะเทือน (Chronograph with shock-absorber hook) (Patent WO2015173372A2) ในกรณีที่เกิดแรงสั่นสะเทือน ระบบนี้จะยึดคลัทช์โยกของจักรกลโครโนกราฟที่กำลังทำงานไว้อย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันการแทรกแซง ที่อาจรบกวนการจับวัดเวลาสั้น ๆ ซึ่งกำลังดำเนินอยู่
- เพนดูลัมดูดซับแรงสั่นสะเทือน (Pendulum shock absorber) (Swiss Patent CH713473A2) ระบบนี้ใช้ประโยชน์จากกำลังของการเร่งแรงสั่นสะเทือนบนนาฬิกา เพื่อรักษาให้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของจักรกลอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ
จึงสามารถมั่นใจได้ถึงการทํางานอย่างถูกต้อง
- สารเคลือบผิว สำหรับเข็มซิลิคอน (Surface primer for the silicon hand) (European patent application EP3764167A1) การเคลือบสารรองผิวอย่างละเอียดชั้นดี (เช่น พีวีดี (PVD) หรือ ซีวีดี (CVD)) ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยปรับการยึดเกาะของแล็กเกอร์ บนพื้นผิวซิลิคอนออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Silinvar®)
- กระบวนการประกอบชิ้นส่วนนาฬิกา (Assembly process for watch components) (European patent EP 3309624 B1) เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการเคลือบโลหะหลายชั้น โดยกระบวนการนี้เป็นการผสานสองวัสดุฐานเข้าด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือวัสดุที่ไม่ใช่โลหะ ซึ่งจะช่วยให้ท่อของเข็มชี้ชนิด Silinvar® สามารถผ่านกระบวนการบัดกรีแข็งได้
สิทธิบัตรเหล่านี้ยังสมทบด้วยอีกหกนวัตกรรมที่ผ่านการจดสิทธิบัตรจาก คาลิเบอร์ CH 29-535 PS ซึ่งเปิดตัวในปี ค.ศ. 2009 โดยทั้ง17สิ ทธิบัตรนั้นมาจากการพัฒนาชดุ Oscillomax® สุดไฮเทค(ค.ศ.2011)และสิทธิบัตรสำหรับบาลานซ์สปริงSpiromax® ประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมด้วยขั้วโค้งและตัวบอสด้านใน (ค.ศ. 2017)
ด้วยการหลอมรวมของนวัตกรรมมากมายที่มิอาจเทียบเคียงได้ กลไกคาลิเบอร์ใหม่อย่าง CH 29-535 PS 1/10 นี้ได้ผนึกรวมเป็นหนึ่ง ด้วยการประดิษฐ์คิดค้นทั้งหมด 31 นวัตกรรม ที่พัฒนาและจดสิทธิบัตรโดย Patek Philippe และทั้งหมดล้วนเกิดขึ้น เพียงในช่วงระยะเวลายี่สิบปีแรกแห่งศตวรรษที่ 21 เท่านั้น
ข้อมูลทางเทคนิค Patek Philippe 1/10th Second Monopusher Chronograph
Ref. 5470P-001 1/10th Second Monopusher Chronograph
- กลไก:
- คาลิเบอร์ CH 29-535 PS 1/10 กลไกจักรกลไขลานด้วยมือ โครโนกราฟและการควบคุมของคอลัมน์วีล คลัทช์คู่แนวราบกับเฟืองต่าง ๆ รวมทั้งหน้าปัดย่อยจับเวลา 30 นาทีแบบฉับพลัน โมดูลของโครโนกราฟสำหรับการจับเวลาหนึ่งส่วน สิบวินาที (tenths-of-a-second measurement) เข็มชี้แบบเดินเรียบ การแสดงวินาทีขนาดเล็ก
- ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง: 29.6 มม.
- ความหนา: 6.96 มม.
จํานวนชิ้นส่วน: 396 ชิ้น - จํานวนทับทิมสังเคราะห์ (jewels): 38 เม็ด
- พลังงานสํารอง: อย่างน้อย 48 ชั่วโมง (ด้วยการปิดการทํางานของโครโนกราฟ)
- บาลานซ์: Gyromax® ทําจาก Silinvar® พร้อมด้วยคร่ำทองจากทอง 9%
ความถี่: 36,000 คร้ังต่อชั่วโมง (5 เฮิรตซ์) - บาลานซ์สปริง: Spiromax® ทําจาก Silinvar®
- เอสเคปเมนท์: Pulsomax® พร้อมด้วยคาน (lever) และจักรเหล็ก (escape wheel) ทําจาก Silinvar®
- ปุ่มบาลานซ์สปริง: สามารถปรับได้
- ฟังก์ชัน: เม็ดมะยมแบบ 2 ตําแหน่ง
- กดลง: สําหรับไขลานด้วยมือ
- ดึงออก: สําหรับปรับตั้งเวลา และหยุดวินาที (stop seconds)
- การแสดง: เข็มชี้ชั่วโมงและนาที ณ กึ่งกลาง
- เข็มโครโนกราฟ และเข็มโครโนกราฟจับเวลาหลักสิบของหนึ่งวินาที (tenths-of-a-second chronograph hand) จากศูนย์กลาง
- หน้าปัดย่อยจับเวลา 30 นาที ณ ตําแหน่ง 6 นาฬิกา
- หน้าปัดย่อยแสดงวินาที ณ ตําแหน่ง 9 นาฬิกา
- ปุ่มกด: เริ่มต้น หยุด และรีเซตโครโนกราฟ ณ ตําแหน่ง 2 นาฬิกา
- ตราสัญลักษณ์: Patek Philippe Seal
คุณลักษณะ (Patek Philippe 1/10th Second Monopusher Chronograph)
- ตัวเรือน: แพลทินัม 950
- ฝาหลังกระจกแซฟไฟร์ และฝาหลังแพลทินัมแบบทึบซึ่งสามารถถอดเปลี่ยนได้
- เพชรระดับ Top Wesselton สีขาวไร้ที่ติ ประดับตกแต่งระหว่างหูตัวเรือน ณ ตำแหน่ง 6 นาฬิกา
- กันน้ำได้ลึกระดับ 30 เมตร (3 บาร์)
- สัดส่วนตัวเรือน: ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง: 41 มม.
- หนา (จากกระจกถึงฝาหลังเปลือย): 13.68 มม.
- หน้าปัด: ทองเหลือง แล็กเกอร์สีน้ําเงิน
- ตัวเลขทรง Breguet แบบนํามาติด ทําจากไวท์โกลด์ 18 กะรัต และมาร์กเกอร์ทรงไข่มุกแสดงนาที
- สเกลแบบรางรถไฟพิมพ์ด้วยสีขาวและสีแดง (นาที หน้าปัดวินาทีเล็ก ลวดลายก้นหอย ณ ตําแหน่ง 9 นาฬิกา หน้าปัดย่อยจับเวลาโครโนกราฟ 30 นาที ลวดลายก้นหอย ณ ตําแหน่ง 3 นาฬิกา)
- เข็มชี้ทรงใบไม้สําหรับแสดงช่ัวโมงและนาที ทําจากไวท์โกลด์ 18 กะรัต พร้อมเคลือบสารเรืองแสง
- เข็มชี้ทรงดาบบนหน้าปัดวินาทีเล็ก ทําจากไวท์โกลด์ 18 กะรัต
เข็มโครโนกราฟ สตีลตกแต่งแบบแซนด์บลาสต์ ชุบโรเดียม
เข็มจับเวลาหลักสิบของหนึ่งวินาที (tenths-of-a-second chronograph hand) ทําจาก Silinvar® พร้อมการตกแต่งด้วยแล็กเกอร์สีแดง
หน้าปัดย่อยจับเวลา 30 นาที พร้อมด้วยเข็มทรงดาบ ทำจากไวท์โกลด์ 18 กะรัต
- สาย : สายหนังวัวตกแต่งด้วยลวดลายผ้าแบบนูน เย็บตะเข็บมือ สีน้ำเงินเข้ม พร้อมเดินตะเข็บด้วยสีแดง ตัดกันและตัวพับล็อกแบบบานพับ ทําจากแพลทินัม 950
Fanpage : https://www.facebook.com/anadigionline/
YouTube Channel : https://www.youtube.com/channel/anadigionline