คุณรู้จักนาฬิกา Regulateur ไหม ?

0

เราคุ้นเคยกับนาฬิกาแบบ 3 เข็มที่มีการจัดเรียงแบบปกติโดยมีจุดหมุนอยู่ตรงกลางหน้าปัดมาเป็นเวลานาน แต่จริงๆ แล้วยังมีนาฬิกาอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า Regulateur ซึ่งมีความน่าหลงใหลกับการออกแบบให้เข็มแต่ละชุดแยกออกจากกัน

Oris Aquis Tubbataha LE : มีดีที่เข็มแยก
Oris Aquis Tubbataha LE : มีดีที่เข็มแยก

คุณรู้จักนาฬิกา Regulateur ไหม ?

- Advertisement -

ปกติแล้วเวลาดูที่หน้าปัดนาฬิกา ในกรณีที่เป็นนาฬิกา 3 เข็มปกติ เรามักจะเห็นเข็มทั้งหมดอยู่รวมกันตรงกลางปัด โดยที่มีตรงหน้าปัดเป็นแกนนาฬิกาเพื่อยึดเข็มทั้งหมด แต่ทว่ายังมีนาฬิกาอีกประเภทที่แยกเข็มแต่ละชุดออกจากกัน และถูกเรียกว่า Regulateur หรือ Regulator ว่าแต่ว่าคุณรู้หรือไม่ว่า ทำไมมันถึงต้องแยกออกจากกัน ?

ความมุ่งหมายของการพัฒนากลไกในแบบ Regulateur คือ การต้องความแม่นยำ โดยเฉพาะพวก Regulateur แบบแท้ หรือ Purest ซึ่งหมายความว่าทั้ง 3 เข็มจะวางเรียงตัวกันเป็นแนวเส้นตรงในแนวดิ่ง โดยมีเข็มวินาทีอยู่ด้านบนสุด ตรงกลางเป็นเข็มนาที และด้านล่างเป็นเข็มชั่วโมง

จุดเริ่มต้นของ การพัฒนากลไกแบบนี้คือ การใช้เป็นนาฬิกาสำหรับอ้างอิงเวลาของช่างทำนาฬิกาในอดีต เพราะจะทำให้ สามารถสังเกตเวลาได้ง่ายกว่า เพราะจุดที่สำคัญที่สุดสำหรับช่างนาฬิกาคือ ความเที่ยงตรงในการทำงานของเข็มวินาที เพื่อใช้ในการเทียบเวลาซึ่งต้องการความแม่นยำสูง

ในสมัยก่อน การใช้นาฬิกาแบบ Regulateur จะเป็นนาฬิกาตั้งโต๊ะ หรือไม่ก็นาฬิกาแขวน ก่อนที่จะมีการปรับปรุงให้กลายมาเป็นนาฬิกาพก ส่วนการกลายมาเป็นนาฬิกาข้อมือนั้น เท่าที่มีการเปิดเผยข้อมูลออกมา เริ่มใช้ในปี 1987 โดย Chronoswiss กับรุ่น Regulateur ก่อนที่จะได้รับความแพร่หลายในแบรนด์ต่างๆ ในเวลาต่อมา แต่ก็ไม่มากเท่าที่ควร

ดังนั้นในปัจจุบัน เราจึงเห็นกลไกแบบ Regulateur แต่ก็เฉพาะนาฬิกาในกลุ่มระดับไฮเอนด์ เช่น Chronoswiss, Bell&Ross, Sinn, IWC, Meistersinger รวมถึงแบรนด์ระดับปกติอย่าง Oris และ Alpina อีกด้วย ใครที่สนใจนาฬิกาที่แปลกและไม่เหมือนใคร น่าจะลองหามาประดับกรุสักเรือน