การเดินทางของเจ้าปลากระป๋อง

0

แม้ว่า Seiko เรือนแรกของผมจะไม่ใช่นาฬิกาตระกูลดำน้ำ แต่เป็น Sportura นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาอะไรในการเป็นสิ่งที่จุดประกายให้ผมเริ่มทำความรู้จักกับแบรนด์นี้ และติดตามผลงานของพวกเขามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนาฬิกาในกลุ่มดำน้ำ ซึ่งผมมองว่าเป็นจุดแข็งของพวกเขาเลยก็ว่าได้ใน การเดินทางของเจ้าปลากระป๋อง

การเดินทางของเจ้าปลากระป๋อง
การเดินทางของเจ้าปลากระป๋อง

การเดินทางของเจ้าปลากระป๋อง

- Advertisement -

แน่นอนว่าในตอนนี้ตลาดมีการขยายตัวอย่างมาก และเราสามารถเลือกซื้อนาฬิกาที่หลากหลายของ Seiko ได้มากขึ้นผ่านทางเคาน์เตอร์ จึงได้เห็นถึง การเดินทางของเจ้าปลากระป๋อง โดยเฉพาะในกลุ่ม Prospex ที่คนไทยมีโอกาสสัมผัสกับอะไรที่มีระดับตลาดสูงกว่า Sumo ได้แล้ว ซึ่งต่างจากอดีตที่จะต้องพึ่งจากของหิ้วเพียงอย่างเดียว

จำได้ว่า Tuna Can กระป๋องแรกซึ่งเป็น Darth Tuna ของผมก็ต้องหิ้วมาจากญี่ปุ่น เพราะคุณไม่สามารถหาได้จากที่นี่ จนกระทั่งนโยบายทางการตลาดของ Seiko ประเทศไทยเปลี่ยนไป และมีบริษัทแม่เข้ามาดูแลมากขึ้น ฝูงปลา Tuna ก็เลยว่ายเข้ามาถึงเมืองไทยได้

อย่างไรก็ตาม นอกจากพวกดำน้ำลึกในระดับ 1,000 เมตรแล้ว Seiko ยังมีนาฬิกาควอตซ์ ซึ่งใช้กลไกเดียวกับ Darth Tuna ทำตลาดด้วยราคาที่ย่อมเยาว์กว่า ซึ่งแน่นอนว่าแม้จะกลไกเดียวกัน แต่ด้วยค่าตัวที่ต่างกันเกือบเท่าตัว พวก Tuna Can รุ่นเล็กก็ต้องมีอะไรที่แตกต่างกันออกไป เช่น ฝาหลังขันเกลียวแทนที่จะเป็นตัวถังแบบ Monocase ขนาดที่เล็กและย่อมลงมา ซึ่งถ้าใครที่ใส่ Darth Tuna อยู่แล้ว อาจจะไม่ค่อยชอบใจสักเท่าไรกับความใหญ่และความหนาที่เป็นรองของพวกมัน

แต่ผมก็เชื่อนะว่าใครที่ชอบพวก Tuna Can ก็ไม่พลาดที่จะมี Tuna ตัวเล็กๆ เอาไว้ประดับกรุ โดยในปีที่แล้ว ทาง Seiko มีการปรับโฉมในช่วงปีที่แล้วแบบยกชุดของนาฬิกาดำน้ำในตระกูล MarineMaster ทั้ง Tuna และตัว MM300 อัตโนมัติ และในกลุ่ม Tuna Can ควอตซ์ ก็มีการเพิ่มทางเลือกของรุ่นย่อยจากเดิมที่มีแค่ 2 รุ่นย่อยเท่านั้น (ถ้าไม่นับพวกรุ่นพิเศษที่ออกมาเฉพาะกิจ)

เรือนที่ผมได้มาถือว่าเป็นของใหม่จากรุ่นที่แล้ว เพราะเป็นการย่อขนาดมาจาก Darth Tuna ด้วยตัวเรือนที่ดำสนิท และมีรหัสเรียกขานว่า SBBN035 ซึ่งบางคนก็ให้ฉายาว่า Ninja Tuna ด้วยตัวเรือนที่ดำสนิทตลอดทั้งเรือน ซึ่งราคั้งตามป้ายที่เคาน์เตอร์อยู่ที่ 40,000 บาท แต่ถ้าคุณเจอดีลดีๆ ในช่วงนั้น บวกกับโปรโมชั่นของบัตร ถือว่าตัวเลขสุดท้ายไม่ทารุณกระเป๋าสักเท่าไร เมื่อเปรียบเทียบกับของหิ้ว

สำหรับรุ่นที่แล้ว ผมเคยฝากเพื่อนซื้อจากญี่ปุ่น ในช่วงค่าเงินเยนอยู่ที่ 100 เยน/27 บาท ราคาก็อยู่ที่ 28,000 บาทแล้ว ซึ่ง ณ ตอนนี้กับค่าเงินที่อยู่ในช่วง 34-35 บาท/100 เยน ไม่มีทางที่จะได้ราคานี้อย่างแน่นอน แต่กับรุ่นนี้ ผมได้ดีลดีกับเคาน์เตอร์ ราคาหลังหักส่วนลดแล้วจ่าย 31,000 บาทมีทอนนิดหน่อย ซึ่งถือว่าโอเคเลย เมื่อเปรียบเทียบกับการได้การรับประกัน 1 ปี และการสนับสนุนผู้แทนจำหน่ายในบ้านเรา

หลังจาการปรับโฉมในปี 2015 ไลน์อัพของ Tuna Can ในระดับ 300m มีการเพิ่มอีก 2 รุ่นใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นเจ้า Ninja Tuna ที่เห็นอยู่นี้ อีกรุ่นที่เพิ่มเข้ามาคือ Tuna สีน้ำเงิน ในรหัส SBBN037 ส่วนอีก 2 รุ่นคือ สายเหล็ก และสายยางขอบ Stainless ยังมีเหมือนรุ่นเดิม

เมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นก่อนหน้าที่มีขายอยู่เราจะพบกับความแตกต่างอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในส่วนของหน้าปัด และเข็ม ซึ่งมีการออกแบบใหม่หมดให้ดูแล้วเรียบง่ายขึ้น แต่บางคนกลับมีความเห็นว่าของเดิมดีกว่า สำหรับ SBBN035 มากับตัวเรือนดำของเกราะหรือ Shroud มาในแบบ PVD-Coated  ตัวเรือนมีขนาดโดยรวม 48 มิลลิเมตร และเมื่อเปรียบเทียบกับพวก 1,000 เมตรแล้วจะพบว่าในรุ่น 300 เมตรเป็นนาฬิกาแบบมีขาน้อยๆ ยื่นออกมาบวกกับความหนาที่ไม่มากนัก เพียง 14 มิลลิเมตรนิดๆ จึงทำใส่แล้วไม่ดูเหมือนกับมีกระป๋องห้อยอยู่บนข้อมือเหมือนกับ Darth Tuna

สิ่งหนึ่งที่ผมค่อนข้างชอบสำหรับนาฬิกาตระกูลดำน้ำของ Seiko ไม่เฉพาะพวก Tuna Line Up คือ การออกแบบของสายยาง ซึ่งมีลักษณะข้อย่น ตรงนี้ช่วยทำให้สายนาฬิกาโค้งไปตามข้อมือ และทำให้ตัวเรือนดูโดยรวมแล้วลงตัวกว่าการเปลี่ยนสาย นั่นคือเหตุผลที่ผมมักจะไม่ค่อยเปลี่ยนมาใช้สายหนังสำหรับนาฬิกาตระกูล Tuna แถมตัวสายยางในรุ่นใหม่นี้ยังมีความนุ่มสบายอย่างมาก แต่ข้อเสียเพียงอย่างเดียวที่ไม่ค่อยชอบเท่าไร คือ ตัวรัดสายที่เห็นโลหะ ซึ่งอาจจะเกิดรอยได้ง่ายๆ เมื่อใช้งาน

สำหรับกลไกของ Tuna รุ่นนี้คือควอตซ์ในรกัส 7C46 ซึ่งเป็นกลไกแบบเดียวกับ Darth Tuna เป็น Super Quartz ที่มีการบริหารการกินพลังงานที่ดีมากรุ่นหนึ่ง มีอายุของแบตเตอรี่นานถึง 5 ปี และมีความแม่นยำด้วยตัวเลขค่าความเพี้ยน +-15 วินาที/เดือน โดยตัวกลไกจะมี Indicator บ่งบอกระดับกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่ด้วย โดยเมื่อแบตเตอรี่อ่อนเข็มวินาทีก็จะเดินแบบเป็นจังหวะ 2 วินาทีเหมือนกับในระบบ Kinetic และ Solar

มาถึงข้อสรุปใครที่ชอบนาฬิกาอัตโนมัติอาจจะเคืองใจกับการเดินแบบกระตุกทีละวินาทีของเจ้านี่ แถมค่าตัวแบบ 5 หลักที่นำหน้าด้วยเลข 3 อาจจะทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าจะดีหรือที่ยอมจ่ายเงินขนาดนี้เพื่อแลกกับนาฬิกาควอตซ์ ?

เอาละถ้าคำถามนี้เกิดขึ้นในใจคุณ ก็ขอให้ข้ามไปได้เลยและมองหาทางเลือกที่ถูกใจคุณดีกว่า เพราะ Tuna Can อาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ใช่สำหรับคุณแล้ว

แต่ถ้าคุณมองว่านี่คือ Tool Watch ที่มีตำนานย้อนกลับไปหายุคเริ่มต้นของนาฬิกาดำน้ำของ Seiko ที่เท้าความกลับไปในทศวรรษที่ 1970 มีความประณีต และเลือกใช้วัสดุชั้นดี แถมยังให้ความโดดเด่นเวลาอยู่บนข้อมือ อ่อ…ที่สำคัญ ไม่ต้องมานั่งตั้งเวลาให้เมื่อยทุกครั้งที่หยิบออกจากกล่อง

คุณจะไม่ผิดหวังที่เลือก…

คุณสมบัติของ : เจ้าปลากระป๋อง

  • เส้นผ่าศูนย์กลาง : 48 มิลลิเมตร (ไม่รวมเม็ดมะยม)
  • ความหนา : 14.5 มิลลิเมตร
  • น้ำหนัก : 125 กรัม
  • ความกว้างขาสาย : 22 มิลลิเมตร
  • กันน้ำ : 300 เมตร
  • กระจก : Hardlex แบบ Double พร้อม Anti Fog Coating
  • กลไก : 7C46 ควอตซ์
  • ความคลาดเคลื่อน : 15 วินาที/วัน
  • จุดเด่น : สวย มีเอกลักษณ์ เครื่องควอตซ์ที่อึด
  • จุดด้อย : ราคา ตัวรัดสายที่เป็นรอยง่าย สายยางนิ่มใส่สบาย แต่บางทีเหมือนจะย้วยนิดๆ ทำให้ต้องรัดแน่น

Fanpage : https://www.facebook.com/anadigiwatch/