ผมเชื่อว่าการผลิตนาฬิกาออกมาสักรุ่น คนที่ทำการตลาดน่าจะต้องคิดในแง่ของการวางกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และตรงจุดเป็นหลัก เพราะไม่อย่างนั้น เราคงไม่มีการแบ่งนาฬิกาออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น นาฬิกาดำน้ำ นาฬิกานักบิน นาฬิกาสำหรับนักเดินทาง หรือนาฬิการะดับหรู ซึ่ง นาฬิกาที่ว่าคือ Diver Kinetic GMT ที่มีรหัสเรียกขายว่า SUN ซึ่งในช่วงแรกมี 3 รุ่นด้วยกันคือ SUN019P1 ที่เป็นสายเหล็ก ตามด้วย SUN021P1 สายยางชอบดำเข็มเหลือง และ SUN023P1 ตัวเรือนดำเข็มส้ม ซึ่งแน่นอนว่า 2 รุ่นแรกขายดีมาก
นักดำน้ำนักเดินทางและคนเอาถ่าน
ตามหาตัวลำบาก สำหรับ นักดำน้ำนักเดินทางและคนเอาถ่าน ขณะที่เรือนเหล็ก ในตอนแรกที่เข้าบ้านเรา ของพอหาได้ไม่ยาก อาจจะเพราะหน้าจืด ไม่มีสีสันเท่ากับอีก 2 รุ่น แต่เชื่อผมเถอะว่าแต่งขึ้นที่สุด เพราะสามารถหาสายหนัง 24 นิ้วสวยๆ มาช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับตัวเรือนได้ง่ายกว่าพวกที่เน้นสีสัน แถมยังลดน้ำหนักที่กดทับมาที่ข้อมือได้อีกด้วย
ในช่วงแรกของการตามล่า ผมสนุกกับการควานหาเข็มเหลือง SUN021P1 ด้วยเหตุผล 2 ข้อ คือ ลงตัวที่สุดในแง่ของการใช้สีสัน และอีกข้อคือ ไม่ชอบน้ำหนักของ SUN019P1 แม้ว่ามองแล้วมันมีอนาคตในการแต่งขึ้นที่ดีกว่าตามที่กล่าวข้างต้น แต่สุดท้ายก็แห้วมาตลอด เพราะ ณ ตอนนั้น ไม่มีของในวงเงินที่ผมเห็นว่าเหมาะสมสำหรับค่าตัวมัน (แต่ถ้าคุณจ่ายเต็มแบบลด 15% ตามเคาน์เตอร์ได้แบบไม่สะดุ้ง…นี่ก็ไม่ใช่ปัญหา)
นั่นทำให้ผมกับนาฬิกาเรือนนี้ลืมกันไปนานจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้เพิ่งจะกลับมาคิดถึงกันอีก และ ‘ซื้อก่อน ใส่ก่อน หล่อก่อน แต่แพงกว่า’ คือ วลีสำหรับคนที่ไม่ซีเรียสเรื่องราคานาฬิกา แต่กับคนที่ต้องบริหารงบอันจำกัดจำเขี่ย ถ้ายังไม่เจอ ก็รอกันต่อไปจนกว่าจะเจอเนื้อคู่ และในเคสนี้ ผมต้องรอนานร่วมปีครึ่ง
ถามว่าค่าตัวของ SUN021P1 ณ ปัจจุบัน ที่ได้มายังแรงไหม ก็ยังแรงอยู่ในระดับหักส่วนลดประมาณ 20-30% ยังอยู่ที่ราคาหมื่นกลางๆ แต่อาจจะต่ำกว่านี้ ถ้าคุณมีดีลกับดีลเลอร์ประจำ
กับบางคนอาจจะบอกว่า ราคาประมาณนี้ ตัดใจไปซื้อ Sumo ของหิ้วดีกว่าไหม เพราะได้นาฬิกาเกรดสูงกว่า และกลไกอัตโนมัติ อันนี้ก็คงต้องแย้งว่า ผมมันพวกบ้าฟังก์ชั่น และหลังจากที่มี Sumo ผ่านมือมาแล้วหลายครั้ง สุดท้ายผมก็ยังคิดว่า Sumo กับผมคงไม่ใช่เนื้อคู่กัน เพราะคบกันมายังไงก็ไม่ยืด
และอีกอย่าง ถ้าคุณเดินทางมาถึงการควักเงินระดับหมื่นกับอีกครึ่งเพื่อแลกนาฬิกากินถ่านแบบไม่แคร์สายตาชาวบ้าน นั่นหมายความว่า คุณน่าจะผ่านอะไรมาเยอะพอสมควร และพอจะทำให้หลายคนจินตนาการว่า กรุของคุณมันต้องเจ๋งแน่ๆ (ทั้งที่มันแทบไม่มีอะไรเลย 555)
เพราะตามคู่มือ การนำนาฬิกาออกมาหมุน 250 รอบจะสามารถสร้างพลังสำรองในการเดินได้ 1 วัน และ 2 วันสำหรับการหมุน 500 รอบ หรือถ้านึกไม่ออกคือ ใส่นาฬิกาเดินแบบแกว่งแขนเป็นระยะทาง 720 เมตร ก็จะสามารถสะสมพลังงานได้ 2 วัน โดยเมื่อเก็บพลังงานจนเต็มที่ หรือ Fully Charged นาฬิกาจะสำรองพลังงานสำหรับใช้ได้ถึง 6 เดือน ส่วนใครที่อยากรู้ว่าพลังงานมีสำรองอยู่เท่าไร ก็สามารถกดปุ่มตรงตำแหน่ง 2 นาฬิกาเพื่อเช็คได้
อีกสิ่งที่ทำให้อาจจะถูกมองว่าเป็นความไม่สะดวกสำหรับนาฬิการุ่นนี้คือ ฟังก์ชั่น GMT ซึ่งจะปรับแตกต่างจากกลไกอื่นๆ ที่สามารถปรับหมุนเข็ม GMT แยกอิสระได้เลย ชั้นแรกคือ ดึงเม็ดมะยมออกมาจนสุด ปรับเวลาที่ 2 ที่เราต้องการก่อนโดยดูจากเข็ม GMT จากนั้นค่อยกดเม็ดมะยมลงไป 1 สเต็ป และหมุนเข็มชั่วโมงให้ไปอยู่ในตำแหน่งเวลาหลักที่ต้องการ
เช่น คุณต้องการแสดงเวลาหลักเป็นเวลาเมืองไทย และเข็ม GMT แสดงเวลาที่ญี่ปุ่น ซึ่งเร็วกว่าเรา 2 ชั่วโมง ถ้าเวลาไทย ณ ตอนนี้คือ 14.00 น. หรือบ่าย 2 เท่ากับว่าคุณต้องดึงเม็ดมะยมขึ้นมา 2 จังหวะ และปรับหมุนเข็มนาทีให้เดินหน้าจนเข็ม GMT มาตกอยู่ที่ตัวเลข 16 หรือบ่าย 4 จากนั้นกดลงไป 1 คลิ๊ก แล้วปรับเข็มชั่วโมงกลับมาอยู่ที่ 2 นาฬิกา
ข้อดีของระบบนี้จะอยู่ที่ความสามารถปรับวันที่ให้เดินหน้าหรือถอยหลังได้อย่างอิสระ ด้วยการหมุนเข็มชั่วโมงตามหรือทวนเข็มนาฬิกา 2 รอบเพื่อปรับ 1 วัน แต่ข้อเสียของมันก็คือ ต้องหมุนเข็มชั่วโมงหลายรอบในกรณีที่คุณต้องเปลี่ยนหลายวัน ซึ่งจะแตกต่างจากระบบ GMT อีกแบบอย่างกลไก ETA 2893-2 ที่แยกการปรับเข็ม GMT กับวันที่ หรือ Day อย่างอิสระจากกัน ดูเหมือนการใช้งานจะยุ่งยากและซับซ้อนกว่ากลไก ETA ที่แยกการปรับเวลาหลัก เข็ม GMT และวันที่ออกจากกัน
อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณลองใช้งาน และทำความเคยชินกับมัน ก็ไม่ใช่ระบบที่แปลกหรือแตกต่างแต่อย่างใด เพียงแต่อาจจะไม่คุ้นเคยเท่านั้นเอง
สรุปว่าถ้าคุณกำลังมองหานาฬิกาใช้งานแบบไม่เกี่ยงกลไก ราคาอยู่ในช่วง 14,000-16,000 บาทสำหรับราคาซื้อขายข้างนอก Seiko Kinetic Diver GMT ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะนอกจากจะผ่านมาตรฐานการตามนาฬิกาดำน้ำแล้ว ยังใช้งานง่ายตามสไตล์ควอตซ์ แถมมีฟังก์ชั่น GMT ติดมาด้วย
แต่เอาเถอะ ผมก็เชื่ออีกเช่นกันว่าบางครั้งวิธีคิดแบบนี้อาจจะมีข้อยกเว้น (และมันก็มีจริงๆ) แล้วใครจะคิดว่าภายในนาฬิกา 1 เรือน บริษัทนาฬิกาจะสามารถผลิตนาฬิกาออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการถึง 3 อย่างให้กับกลุ่มคน 3 ประเภทได้..แต่มันก็มีแล้วจริงๆ
ตอนปี 2014 Seiko เปิดตัวนาฬิกาในกลุ่มดำน้ำรุ่นหนึ่งซึ่งเป็นผลผลิตในไลน์อัพ Prospex ออกมา แน่นอนว่าด้วยตัวเรือนขนาดค่อนข้างใหญ่ และหนา มันคือเรือนเวลาที่สอดคล้องกับคนรักนาฬิกายุคปัจจุบันที่ชอบของใหญ่ บวกกับได้ฟังก์ชั่น GMT และระบบ Kinetic ที่ได้อารมณ์เหมือนเขย่านาฬิกาอัตโนมัติ แต่สะดวกในการใช้งาน จึงไม่น่าแปลกใจที่ในช่วงแรกของการทำตลาดในบ้านเรา ของหายากมาก และบางครั้งสอบถามไปยังหลายๆ ร้านที่รู้จัก เอาแค่ได้ของเร็วแบบไม่ต้องหักส่วนลดอะไรมากมาย ยังต้องรอกันนานเลย โดยเฉพาะสียอดนิยม
ส่วนอีกเหตุผลที่อาจจะทำให้ใครบางคนมองข้ามมันไปคือ ขนาดตัวเรือนที่ค่อนข้างใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 47 มม.ไม่รวมเม็ดมะยมยังไม่น่ากังวลเท่ากับ Lug-to-Lug ของนาฬิกาที่ใหญ่ถึง 52 มม. เพราะตรงนี้อาจจะทำให้กางได้เมื่ออยู่บนข้อมือที่ต่ำกว่า 6 นิ้วครึ่ง นี่ยังไม่รวมความหนาของตัวเรือนในระดับ 15 มม.อีกด้วยนะ เพราะเมื่อคาดอยู่บนข้อมือแล้ว โป่งนูนขึ้นมาอย่างชัดเจน แต่ถ้าคุณมีขนาดข้อมือเกินจากนี้ หรือคุ้นเคยกับการใส่ Darth Tuna แล้ว ตรงนี้ไม่ใช่ประเด็นที่น่ากังวลใจอะไรเลย
นอกจากนั้น อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้พวก ‘ไม่เอาถ่าน’ เมินกันก็คือ อาการเดินของเข็มในแบบนาฬิกาควอตซ์ที่กระตุกแบบชวนขัดตาเป็นอย่างยิ่ง เพราะแม้ว่าจะเป็น Kinetic ที่มีการใช้โรเตอร์หมุนเหวี่ยงเหมือนกับนาฬิกาอัตโนมัติ แต่หน้าที่ของมันก็เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าเข้ามาเก็บในแบตเตอรี่ไม่ใช่เก็บพลังงานเข้ามาอยู่ในกระปุกลาน Kinetic จึงคือนาฬิกาควอตซ์นั่นเอง และการเดินของเข็มก็จะกระตุกทีละวินาที…แต่ถ้ากระตุกครั้งละ 2 วินาทีก็แสดงว่าควรรีบชาร์จไฟได้แล้ว
กลไกที่ใช้อยู่ในรุ่นนี้เป็นรหัส 5M85 ซึ่งก็พบได้ในรุ่น Sportura GMT ที่อยู่นอกไลน์ Prospex และตัว Land GMT ที่อยู่ในกลุ่ม Prospex และมีรหัส SUN047 เป็นต้นไป ในแง่ของการทำงาน เท่าที่เคยสัมผัสระบบนี้มาในช่วงหลังๆ ไม่ค่อยมีปัญหาอะไรที่น่าเป็นห่วงในเรื่องของตัวเก็บประจุเหมือนกับรุ่นแรกๆ สิ่งที่ต้องกังวลมีเพียงแค่คุณต้องนำมันออกมาใส่บ่อยครั้งหน่อย
คุณสมบัติของ : Seiko Diver
- เส้นผ่าศูนย์กลาง : 47.5 มิลลิเมตร (ไม่รวมเม็ดมะยม)
- ความหนา : 15 มิลลิเมตร
- Lug-to-Lug : 52 มิลลิเมตร
- น้ำหนัก : 154 กรัม
- ความกว้างขาสาย : 24 มิลลิเมตร
- กันน้ำ : 200 เมตร
- กระจก : Sapphire แบบ Double พร้อม Anti-Reflective Coating
- กลไก : 5M85 Kinetic
- จุดเด่น : เพียบด้วยฟังก์ชั่น และใส่สะดวก ไม่ต้องเสียเวลาตั้ง
- จุดด้อย : เรือนใหญ่ หนา อาจไม่เหมาะกับคนข้อมือต่ำกว่า 7 นิ้ว ราคาที่อาจจะแพงไปหน่อย และฟังก์ชั่นการตั้งเวลาของ GMT ที่ดูยุ่งยาก
Fanpage : https://www.facebook.com/anadigiwatch/