การกลับมาของคอลเล็กชั่น Stratoliner และครั้งนี้ยังเน้นการใช้งานเพื่อบุกเบิกด้านการขึ้นสู่อวกาศ โดยในช่วงแรกจะมีจำหน่ายทั้งหมด 3 สีหน้าปัด ก่อนจะมีสีที่ 4 ตามออกมาในช่วงเดือนกรกฎาคม
![Fortis Stratoliner S-41](https://www.ana-digi.com/wp-content/uploads/2022/05/Fortis-Stratoliner-OPN.jpg)
Fortis Stratoliner S-41 ทะยานขึ้นฟ้าพร้อมลุยอวกาศอีกครั้ง
-
การกลับมาของคอลเล็กชั่น Stratoliner เน้นการใช้งานในอวกาศ
-
ออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่อ้างอิงกับโปรเจ็กต์การขึ้นสู่อวกาศของ Virgin Galactic Space Flight
-
มีจำหน่ายทั้งหมด 4 หน้าปัด แต่จะมีขายก่อนแค่ 3 รุ่น ส่วนอีกรุ่นจะมาในเดือนกรกฎาคม
เมื่อพูดถึงแบรนด์นาฬิกาที่ค่อนข้างจริงจังกับเรื่องของการมีส่วนร่วมกับอวกาศ ชื่อของ Fortis คือหนึ่งในนั้น และแม้ว่าที่ผ่านมาทางแบรนด์จะห่างจากเรื่องนี้ไปสักระยะ แต่จากการเข้าไปมีส่วนร่วมกับโครงการอวกาศหลายแห่ง รวมถึงรุ่นล่าสุดอย่าง Fortis Stratoliner ที่เพิ่งเปิดตัวออกมา คือ การยืนยันให้เห็นว่าทางแบรนด์ยังไม่ละทิ้งความพยายามในการเป็นส่วนหนึ่งกับโครงการอวกาศ
ก่อนการเปิดตัวรุ่นใหม่ของ Stratoliner เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทาง Fortis เองได้ทำโปรเจ็กต์ร่วมกับองค์กรการอวกาศของสวีเดน หรือ SSC-Swedish Space Corporation ในการส่งกลไกจับเวลารุ่นใหม่ล่าสุดที่ Fortis กำลังพัฒนาอย่าง Werk17 ออกไปสัมผัสกับขอบอวกาศในชั้นบรรยากาศ Stratosphere ด้วยการจับใส่ถาดที่ถูกเชื่อมเข้ากับบอลลูนและปล่อยขึ้นไป เพื่อทดสอบในแง่ความทนทานและตอนนั้นยังไม่มีใครรู้ว่า Fortis จะนำกลไกนี้ไปใช้กับนาฬิกการุ่นไหนจนกระทั่งถึงตอนนี้
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สำหรับ Fortis Stratoliner เคยถูกใช้มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ตอนนั้นยังเป็นรุ่นย่อยที่อยู่ในคอลเล็กชั่นหลักอย่าง B-42 ซึ่งถ้าเป็นรุ่นที่ผลิตมาเพื่อการใช้งานการบินหรืออวกาศที่มาพร้อมกลไกจับเวลาจะใช้ชื่อว่า B-42 Stratoliner ส่วนในรุ่นใหม่จะถูกแยกออกมาเป็นคอลเล็กชั่นหลักเลย
ตัวนาฬิกาถูกออกแบบเพื่อรองรับกับการใช้งานทางด้านอวกาศโดยเฉพาะ และอ้างอิงจากโปรเจ็กต์การขึ้นสู่อวกาศของ Virgin Galactic Space Flight ซึ่งสามารถสังเกตได้จากแถบสีฟ้าอ่อนที่อยู่บนหน้าปัดและมีการเคลือบสารเรืองแสงในส่วนนี้เอาไว้ด้วย ซึ่งแถบจะมีความยาวครอบคลุมกับช่วงเวลาที่สำคัญในการปล่อยจรวด โดยแบ่งเป็น
- Mate Climb : ในช่วงการไต่ขึ้นสู่ฟ้าของจรวด ซึ่งจะใช้เวลา 60-90 นาทีซึ่งตรงนี้จะเป็นแถบที่อยู่ในวงย่อยตรงตำแหน่ง 6 นาฬิกา ซึ่งเป็นการจับเวลาได้สูงสุด 12 ชั่วโมง
- Boost : เป็นสเตจที่ 2 ที่จรวดจะอาศัยพละกำลังทั้งหมดเพื่อเร่งเครื่องให้หนีจากแรงโน้มถ่วงของโลกเพื่อเข้าสู่วงโคจร และช่วงนี้จะใช้เวลา 90 วินาที และสามารถจับเวลาได้จากแถบสีฟ้าที่อยู่ขอบนอกของหน้าปัดและใช้ชุดเข็มวินาทีหลักของระบบจับเวลาในการใช้จับเวลา
- Zero G : จรวดอยู่ขอบอวกาศและจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ไร้แรงโน้มถ่วง ซึ่งช่วงเวลาใช้เวลาประมาณ 15 นาที ซึ่งตรงนี้จะดูจากหน้าปัดจับเวลาย่อยในตำแหน่ง 12 นาทีซึ่งเป็นวงจับเวลาสูงสุด 30 นาที
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ตัวนาฬิกามีขนาด 41 มิลลิเมตรและผลิตจากสแตนเลสสตีล มีจำหน่ายทั้งสายสตีลและสายหนัง ตัวนาฬิกาเป็นนาฬิกาแบบไม่มีขอบตัวเรือน หน้าปัดด้านในจะมีสเกลสำหรับจับเวลาในหน่วย 0-60 ส่วนหน้าปัดจะมีทั้งหมด 3 สี คือ ขาว และ 2 โทนสีจากสีเทา คือ Space Grey และ Cosmic Grey โดยบนพื้นผิวจะถูกออกแบบให้มี Texture ที่มีรายละเอียดและเกรนหยาบๆ อยู่บนพื้นผิวที่ทาง Fortis เรียกว่า Dust Dial ส่วนหน้าปัดอีกสี คือ น้ำเงินยังไม่มีจำหน่ายในตอนนี้ แต่จะเริ่มขายในเดือนกรกฎาคม และเป็นเวอร์ชันพิเศษ Stratoliner S-41 Blue Japan
กลไกอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนนาฬิการุ่นนี้คือ Werk17 ที่พัฒนาอยู่บนพื้นฐานของกลไกจาก La Jous-Perret มาพร้อมกับระบบคอลัมน์วีลเพื่อความนุ่มนวลและความเที่ยงตรงในการกดปุ่มจับเวลา มีการออกแบบชิ้นส่วน Bridge ใหม่พร้อมกับตัวปรับแบบ Micro Screw เพื่อช่วยให้มีความทนทาน และสามารถสำรองกำลังงานสูงสุด 60 ชั่วโมง พร้อมความสามารถในการกันน้ำ 200 เมตร
สำหรับราคาจำหน่ายจะอยู่ที่ 4,950 ยูโร สำหรับรุ่นสายหนัง และสายสตีลราคา 5,300 ยูโร ส่วนใครที่อยากได้หน้าปัดสีฟ้าต้องรอจนถึงวันที่ 13 กรกฎาคมและจะมีราคาเท่ากับรุ่นสายสตีล
รายละเอียดทางเทคนิค : Fortis Stratoliner S-41
- เส้นผ่านศูนย์กลาง : 41 มิลลิเมตร
- วัสดุตัวเรือน : สแตนเลสสตีล
- กระจก : Sapphire เคลือบสารกันการสะท้อนแสง
- กลไก : Werk17 อัตโนมัติ พร้อมกลไกจับเวลาแบบ Column Wheel
- ความถี่ : 28,800 ครั้งต่อชั่วโมง
- กำลังสำรอง : 60 ชั่วโมง
- การกันน้ำ : 200 เมตร
Fanpage : https://www.facebook.com/anadigionline/
YouTube Channel : https://www.youtube.com/channel/anadigionline