ไม่น่าแปลกใจที่โลกแห่งเรือนเวลาและนาฬิกามักจะเชื่อมต่อกัน และนี่คืออีกหนึ่งตัวอย่างที่ De Bethune ได้นำความสำเร็จของทีมแข่ง Lotus ในยุคทศวรรษที่ 1970 มาถ่ายทอดลงบนเรือนเวลาของพวกเขา
เมื่อโลกแห่งเวลาเชื่อมกับโลกความเร็วผ่านเรือนเวลาของ De Bethune
การเปิดตัวนาฬิการุ่น DB28 GS JPS ของ De Bethune ถือว่ามีความน่าสนใจเพราะนี่คือ การเชื่อมโลกแห่งเวลาเข้ากับโลกแห่งความเร็วของสุดยอดมอเตอร์สปอร์ตอย่าง F1 หรือ Formula 1 โดยทางแบรนด์เลือกเอาความสำเร็จของทีมแข่ง Lotus ที่ถือเป็นยอดทีมในช่วงทศวรรษที่ 1970 โดยเฉพาะตัวแข่งที่มาพร้อมกับสีดำ-ทองของแบรนด์ JPS
สำหรับชื่อ JPS ซึ่งย่อมาจาก John Player Special (จอห์น เพลเยอร์ สเปเชียล)นั้น เป็นชื่อย่อของ 3 ตัวอักษรที่ชวนให้หวนนึกถึงสัมพันธภาพแห่งตำนานด้วยเฉดสีดำและทองที่มีมากกว่าการเป็นแบรนด์ แต่เป็นรหัสสีไอคอนิกที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของทีมโลตัส (Team Lotus) พร้อมทั้งการปฏิวัติครั้งใหม่ในทุกมิติ โดยเฉพาะรถแข่งที่มิอาจเอาชนะได้ ซึ่งนับเป็นความสำเร็จสูงสุดในช่วงเวลาของพวกเขา เช่นเดียวกับในยุคทศวรรษที่ 1980 ซึ่งเราได้เห็นสีแดง-ขาวบนรถแข่งของ McLaren หรือในทศวรรษ 2000 กับสีแดงของ Ferrari ที่มาพร้อมกับความยอดเยี่ยมในการกวาดชัยชนะในกรังด์ปรีซ์แต่ละสนาม
ในวันเวลาที่เรานั้นยังเป็นเด็กชายและเด็กหญิง ณ ช่วงต้นยุค 1970s ย่อมจดจำได้ดีกับภาพของบรรดา ‘จรวด’ สีดำและทองที่ผ่านสายตาเราในช่วงวัยรุ่น โดยมีภาพของเหล่านักแข่งและชุดสีดำและทอง กับหมวกกันน็อคสีดำและทอง หรือแม้แต่ภาพของทีมวิศวกรที่ทำงานอย่างรวดเร็ว ซึ่งเรามีโอกาสได้เห็นเป็นครั้งแรกจากการติดตั้งด้วยกล้องต่างๆ ภายในพิท
ความโดดเด่นในยุคนั้นมีรถของทีม Lotus JPS ซึ่งเป็นหนึ่งในรถแข่งแบบที่นั่งเดี่ยวล้อเปิดคันแรกๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหลักอันล้ำสมัยในช่วงเวลานี้ด้วย ทั้งการวิจัยด้านหลักอากาศพลศาสตร์หรือแอโรไดนามิกส์ (Aerodynamics) รวมถึงการพัฒนาด้านต่างๆ โดยมีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยเป็นครั้งแรกๆ
F1 จึงนับเป็นการสร้างรูปให้กับภาพแห่งจินตนาการที่สั่งสมมานานสู่ความเป็นจริง ภายใต้เฉดสีดำแห่งความน่าเกรงขามและรุนแรงที่ได้จับคู่มากับสีทองแวววาวอันทรงเกียรติและสง่างาม ซึ่งนั่นทำให้ JPS ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งยุค 1970s และ De Bethuneได้ดึงแรงบันดาลใจนี้มาใช้สร้างสรรค์ในเวอร์ชันใหม่ของนาฬิกาสปอร์ต DB28GS ‘JPS’ ของพวกเขา
นับเป็นการหลอมรวมทั้งความโดดเด่นพิเศษ นวัตกรรมและความท้าทายอย่างแท้จริง พร้อมทั้งความทุ่มเทให้กับการค้นพบซึ่งพรมแดนแห่งสมรรถนะสูงสุดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และการจัดการด้วยเทคนิคเฉพาะหนึ่งเดียวนี้เองที่ทำให้ มาริโอ อันเดรตติ ได้กลายเป็นหนึ่งในตำนานจากความสามารถของเขา โดยมีทีม Lotus เป็นผู้ร่วมสร้างความสำเร็จไปกับเขา
เฉกเช่นเดียวกับเหล่าวิศวกรของทีมแข่งรถสูตรหนึ่งที่กำลังมุ่งมั่นพยายามพัฒนาปรับปรุงหลักการด้านอากาศพลศาสตร์ของรถแข่งที่นั่งเดี่ยวของพวกเขา (เพื่อเพิ่มแรงดึงดูดของรถบนสนามแข่ง) ที่ในเวลาเดียวกันนั้น Denis Flageollet และทีมแห่ง De Bethune ได้ทำงานอย่างทุ่มเทเช่นกันในการพัฒนาปรับปรุงสมรรถนะของอุปกรณ์ชิ้นส่วนควบคุมของกลไก ซึ่งนั่นยังเชื่อมโยงสัมพันธ์ถึงการเสริมหลักอากาศพลศาสตร์ของบาลานซ์ แต่ต่างวัตถุประสงค์ไปจากโลกของการแข่งขันความเร็วรถยนต์ กับการเสาะหาวิธีที่จะกำจัดแรงดึงดูดของบาลานซ์เข้าหาแท่นเครื่อง
เพื่ออธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น พวกเขากำลังย้อนกลับไปมองถึงคุณลักษณะของอากาศที่มีความลื่นไหล แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองเห็นได้ โดยนักคณิตศาสตร์ชาวสวิส Daniel Bernoulli (ดาเนียล แบร์นูลลี) ได้พัฒนาหลักการที่กล่าวว่าภายในการไหลของของเหลวนั้น มีการเร่งเกิดขึ้นอย่างฉับพลันซึ่งสอดคล้องสัมพันธ์กับการลดลงของแรงกดอากาศ และนี่เป็นสิ่งที่ทำให้เครื่องบินสามารถบินได้ ด้วยปีกที่มีสองโครงร่างแตกต่างกัน โดยด้านหนึ่งมีความโค้งทำให้อากาศผ่านไปได้เร็วกว่า (เพราะครอบคลุมระยะทางที่มากกว่า) ขณะที่อีกด้านหนึ่งนั้นอากาศไหลได้ช้ากว่า และด้วยความแตกต่างของแรงกดอากาศนี้จึงทำให้เกิดการยกตัว และช่วยให้เครื่องบินสามารถบินได้
นั่นเป็นสิ่งเดียวกันกับที่ Denis Flageollet พยายามที่จะนำมาปรับใช้กับบาลานซ์ของเขา โดยการให้บาลานซ์ผ่านอย่างใกล้ชิดกับแท่นเครื่อง เพื่อให้เกิดซึ่งแรงดึงดูด เช่นในกรณีของรถแข่ง ปีกที่แหงนขึ้นทำให้เกิดแรงยกลบที่ผลักให้รถสามารถพุ่งทะยานไปข้างหน้าบนสนามแข่งขัน ทั้งยังเพิ่มการเกาะยึดของยาง จึงทำให้สามารถวิ่งได้เร็วขึ้นรอบขอบสนาม ขณะที่ในบาลานซ์ของ De Bethune นั้นมีผลตรงกันข้าม โดยเป็นการมอบผลลัพธ์แบบเดียวกับจาก “ปีกเครื่องบิน” แต่เป็นการยกขึ้นด้วยความเบาที่เกือบจะทำให้บาลานซ์เหล่านั้นเสมือน “บิน” ได้
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
และขณะที่แรงดึงดูดนั้นมีพลังมากขึ้นด้วยการเร่งความเร็ว สิ่งเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นเช่นกันในระหว่างการเร่งระยะของบาลานซ์ ดังนั้น จึงเหมือนกันกับรถสูตรหนึ่งที่ใช้ประโยชน์จากปีกที่แหงนขึ้น เพื่อกดให้รถยึดกับพื้นสนามได้มากขึ้นเมื่อเร่งความเร็ว ทว่า ประโยชน์ที่ได้นี้มีประสิทธิผลในทางตรงกันข้ามสำหรับบาลานซ์ ซึ่งใช้กระบวนการของปีกเครื่องบินนี้เพื่อหลีกเลี่ยงจากการถูก ‘ดัน’ เข้าหาแท่นเครื่อง
นอกจากนั้น ทีมวิศวกรของทีมแข่ง F1 ซึ่งถือเป็นผู้เชี่ยวชาญกลุ่มแรกๆ ที่ทำงานกับเทคนิคการเคลือบต้านแรงเสียดทานอย่าง ดีแอลซี (DLC – Diamond-Like Carbon) เพื่อช่วยลดแรงเสียดสีของชิ้นส่วนโลหะภายในเครื่องยนต์ และดังนั้น จึงช่วยพัฒนาปรับปรุงสมรรถนะของรถยนต์ได้ด้วย ที่ Denis Flageollet และทีมของเขาได้ทำงานกับคุณสมบัติอันน่ามหัศจรรย์ของการเคลือบ DLC นี้บนสตีลผ่านการทำให้แข็งเช่นกัน เพื่อพัฒนาปรับปรุงด้านความทนทานของชิ้นส่วน อาทิ หูตัวเรือนเชื่อมสาย และขอบตัวเรือนแบบลอยเคลือบสีดำของนาฬิกา
ในยุคนั้น ต้อวยอมรับว่ารถแข่ง F1 ของทีม Lotus ยังได้รับการยกย่องในฐานะรถแข่งสูตรหนึ่ง (Formula 1) อันสวยงามที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา ! ดังนั้น JPS จึงเปรียบดั่งความใฝ่ฝันแห่งจักรกล และการสืบทอดซึ่งชัยชนะบนสนามแข่งของสุดยอดการแข่งขันในโลกของมอเตอร์สปอร์ต
ตลอดการแข่งขันในโลกแห่ง F1 ทีมนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากกับรางวัลผู้ชนะเลิศการแข่งประจำปีประเภททีมผู้ผลิต หรือ Constructors’ World Championship พวกเขาคว้ามาได้ถึง 7 ครั้ง และอีก 6 แข่งจากฝีมือของนักแข่งอย่าง Jim Clark (จิม คลาร์) Graham Hill (เกรแฮม ฮิลล์) Jochen Rindt (โยเชน รินท์) Emerson Fittipaldi (เอ็มเมอร์สัน ฟิตตี้พัลดี้) และ Mario Andretti (มาริโอ แอนเดร็ตติ)
ทั้งหมดได้ถูกถ่ายทอดและนำเสนอผ่านความงดงามแห่งโลกแห่งเรือนเวลาผ่านทาง De Bethune DB28 GS JPS
1.รถแข่ง Lotus 78 JPS Mark III ที่สร้างความสำเร็จให้กับทีมแข่งจนได้รับการยอมรับว่าเป็นรถแข่งที่ยอดเยี่ยมที่สุดรุ่นหนึ่ง
Fanpage : https://www.facebook.com/anadigionline/
YouTube Channel : https://www.youtube.com/channel/anadigionline