Casio G-Shock GWR-B1000HJ นาฬิกาที่มีแรงบันดาลใจจาก HondaJet

0

ถ้าคุณมีโอกาสได้ไปเดินที่งาน Central Watch Fair และเยี่ยมชมบูธของ Casio จะได้พบกับนาฬิการุ่นหนึ่งที่อยู่ในกลุ่ม Gravitymaster ซึ่งน่าสนใจและสวยสะดุดตา โดย Casio G-Shock GWR-B1000HJ ถือว่ามีความพิเศษ เพราะเป็นนาฬิกาที่ถูกผลิตโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากเครื่องบินเจ็ตขนาดเล็กของ Honda ที่ผลิตขายในสหรัฐอเมริกา

Casio G-Shock GWR-B1000HJ
Casio G-Shock GWR-B1000HJ

Casio G-Shock GWR-B1000HJ นาฬิกาที่มีแรงบันดาลใจจาก HondaJet

  • ถูกพัฒนามาจากนาฬิกาในกลุ่ม Gravitymaster อย่าง GWR-B1000

  • หน้าปัดและตัวเรือนได้รับการออกแบบใหม่ให้สอดคล้องกับสีของเครื่องบิน HondaJet Elite

  • บ้านเรามีเข้ามาจำหน่ายแล้วกับราคา 40,000 บาท

- Advertisement -

บริษัท คาสิโอ คอมพิวเตอร์ จำกัด เผยโฉมรุ่น GWR-B1000HJ สมาชิกใหม่ของ GRAVITYMASTER (กราวิตี้มาสเตอร์) กลุ่มนาฬิกาแนวการบินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ G-SHOCK (จี-ช็อค) แบรนด์แห่งนาฬิกาต้านทานแรงกระแทก โดยรุ่น GWR-B1000HJ เป็นนาฬิกาที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากดีไซน์การออกแบบของ HondaJet Elite (ฮอนด้าเจ็ต อีลิท) เครื่องบินขนาดเล็กสุดล้ำหน้า

Casio G-Shock GWR-B1000HJ

HondaJet Elite เป็นเครื่องบินขนาดเล็กที่มียอดจำหน่ายสูงสุดของโลก* ในกลุ่มเครื่องบินระดับเดียวกันโดยเป็นผลผลิตของบริษัท ฮอนด้า แอร์คราฟต์ ซึ่งอยู่ในเครือของบริษัท อเมริกัน ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ด้วยนวัตกรรมทางรูปแบบเครื่องยนต์ที่เรียกว่า Over-The-Wing Engine Mount ทำให้ HondaJet สามารถสร้างนิยามใหม่ของการออกแบบอากาศยานขึ้นมาได้สำเร็จ HondaJet  เป็นพันธมิตรที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับ G-SHOCK  เพราะทั้งสองแบรนด์ต่างมีความมุ่งมั่นที่สอดคล้องกันนั่นก็คือความพร้อมเสมอในการเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าที่สุด

*อ้างอิงข้อมูลจากผลสำรวจของ General Aviation Manufacturers Association (GAMA) – (เจเนอรัล เอวิเอชั่น แมนูแฟคเจอเรอร์ส แอสโซซิเอชั่น)

นาฬิการุ่นใหม่ GWR-B1000HJ ได้รับการสร้างขึ้นบนพื้นฐานการออกแบบของ Michimasa Fujino (มิชิมะสะ ฟูจิโนะ) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบและพัฒนาเครื่องบินให้กับ HondaJet รายละเอียดงานดีไซน์ของนาฬิการุ่นนี้จึงเต็มไปด้วยคุณลักษณะที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเครื่องบิน HondaJet ไม่ว่าจะเป็นดัชนีรูปเครื่องบินสำหรับชี้แสดงค่าของหน้าปัดขนาดเล็ก ณ ตำแหน่ง 12 นาฬิกา สันแนวโค้งบนชิ้นเม็ดมะยมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากรูปทรงใบพัดของเครื่องยนต์ HondaJet ตลอดจนท่อรอบปุ่มกด ณ ตำแหน่ง 2 และ 4 นาฬิกา ที่มีผิวเงาสะท้อนดุจกระจกเงาซึ่งนำลักษณะมาจากปลอกครอบของเครื่องยนต์ ทั้งยังปรากฎตราสัญลักษณ์ HondaJet อยู่บนหน้าปัด เม็ดมะยม และสายนาฬิกา นอกจากนี้ฝั่งด้านบนของสายนาฬิกายังมีการพิมพ์ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับประสิทธิภาพทางการบินของเครื่องบิน HondaJet ซึ่งยอดเยี่ยมที่สุดในเครื่องบินระดับเดียวกันอีกด้วย และจากการที่คณะนักออกแบบนาฬิกาของคาสิโอได้เดินทางไปสัมผัสกับ HondaJet Elite เครื่องบินรุ่นล่าสุดของ Honda ที่สหรัฐอเมริกา พวกเขาจึงนำสีขาวและลักษณะการตกแต่งผิวโลหะของเครื่องบินรุ่นนี้มาใช้กับส่วนประกอบของนาฬิกา เช่น หน้าปัด และตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นต้น ดีไซน์การออกแบบนาฬิการุ่นนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงบรรดาคุณลักษณะอันน่าประทับใจของเครื่องบิน HondaJet ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

Casio G-Shock GWR-B1000HJ

นาฬิการุ่นใหม่ GWR-B1000HJ ถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของรุ่น GWR-B1000 ซึ่งเป็นนาฬิกาที่มาพร้อมนวัตกรรมโครงสร้างแบบใหม่ป้องกันแกนกลางทำจากคาร์บอนหรือที่เรียกกันว่า ‘Carbon Core Guard’ (คาร์บอน คอร์การ์ด) ให้ประสิทธิภาพสูงสุดด้านการต้านทานต่อแรงกระแทก ทั้งยังมีความแข็งแกร่งทนทานด้วยคุณสมบัติของคาร์บอนไฟเบอร์ซึ่งเป็นวัสดุชนิดเดียวกับที่ใช้บนลำตัวของเครื่องบิน นาฬิกาแห่งความร่วมมือรุ่นพิเศษรุ่นนี้จึงแสดงให้เห็นถึงการผสานรวมความแข็งแกร่งทนทานเป็นที่สุดเข้ากับโลกแห่งการบิน

Casio G-Shock GWR-B1000HJCasio G-Shock GWR-B1000HJ

สำหรับเมืองไทย สามารถสัมผัสกับ GWR-B1000HJ ได้ในงาน Central Watch Fair กับราคา 40,000 บาท

รายละเอียดทางเทคนิค :

โครงสร้าง ทริปเปิล จี รีซิสต์ (ทนต่อแรงกระแทก, ทนต่อแรงเหวี่ยง, ทนต่อแรงสั่นสะเทือน)กันสนิม
การกันน้ำ 200 เมตร
สัญญาณเทียบเวลามาตรฐาน 77.5 กิโลเฮิร์ตซ์ (DCF77: เยอรมนี); 60 กิโลเฮิร์ตซ์ (MSF: สหราชอาณาจักร); 60 กิโลเฮิร์ตซ์ (WWVB: สหรัฐอเมริกา); 40 กิโลเฮิร์ตซ์ (JJY: ฟุกุชิมา, ญี่ปุ่น) / 60 กิโลเฮิร์ตซ์ (JJY: คิวชู, ญี่ปุ่น); 68.5 กิโลเฮิร์ตซ์ (BPC: จีน)
การรับสัญญาณเทียบเวลามาตรฐาน รับสัญญาณอัตโนมัติได้ถึง 6 ครั้งต่อวัน (ยกเว้นการใช้งานในประเทศจีน: รับได้สูงสุด 5 ครั้งต่อวัน)
ข้อกำหนดของวิธีการสื่อสาร มาตรฐานของ
วิธีการสื่อสาร
บลูทูธ ชนิดใช้พลังงานต่ำ
ระยะสัญญาณ สูงสุดถึง 2 เมตร (อาจต่างไปจากนี้โดยขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม)
ความละเอียดของการจับเวลา 1 วินาที; ระยะการจับเวลา: 24 ชั่วโมง; ฟลายแบ็ค (สั่งการให้เริ่มจับเวลาครั้งใหม่ได้ทันทีในขณะที่กำลังดำเนินการจับเวลาอยู่โดยไม่ต้องกดหยุดการจับเวลาก่อน); สั่งการให้เริ่มการจับเวลาได้โดยตรง
นาฬิกาจับเวลาถอยหลัง หน่วยการนับย้อน: 1 วินาที (สูงสุด 24 ชั่วโมง)
นาฬิกาปลุก นาฬิกาปลุกที่ทำงานทุกวัน
ฟังก์ชั่นการทำงานอื่น ๆ ฟังก์ชั่นการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน (เวิลด์ไทม์: แสดงเวลาทั่วโลกได้มากกว่า 300 เมือง, การปรับตั้งเวลาโดยอัตโนมัติ, การปรับตั้งเวลาด้วยการสัมผัสเพียงครั้งเดียว, การตั้งค่านาฬิกาอย่างง่าย), แสดงวันและวันที่, แสดงปฏิทินแบบเต็มโดยอัตโนมัติ, ไฟแอลอีดี (ซูเปอร์ อิลลูมิเนเตอร์ และระบบหน่วงระยะเวลาการเปล่งแสง), แสดงระดับพลังงานแบตเตอรี่
แหล่งพลังงาน ระบบพลังงาน ทัฟ โซลาร์ (พลังงานแสงอาทิตย์)
อายุการใช้งานแบตเตอรี่โดยประมาณ ประมาณ 18 เดือน เมื่อเปิดใช้งานฟังก์ชั่นประหยัดพลังงาน* หลังจาก

ประจุพลังงานจนเต็ม

*ฟังก์ชั่นประหยัดพลังงานจะทำงานหลังจากนาฬิกาอยู่ในที่มืดจนถึงระยะเวลาที่ระบบกำหนดไว้

ขนาดของตัวเรือน 50.1 x 46.4 x 16.9 มม.
น้ำหนักรวม ประมาณ 72 กรัม

* ตราสัญลักษณ์ข้อความและตราสัญลักษณ์ Bluetooth (บลูทูธ) เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Bluetooth SIG, Inc. (บริษัท บลูทูธ เอสไอจี)
การใช้ตราเครื่องหมายเหล่านี้โดย บริษัท คาสิโอ คอมพิวเตอร์ จำกัด อยู่ภายใต้การอนุญาต

Casio G-Shock GWR-B1000HJ

เกี่ยวกับ HondaJet Elite (ฮอนด้าเจ็ต อีลิท)

HondaJet Elite เป็นเครื่องบินที่บินได้เร็วที่สุด ไกลที่สุด และบินได้สูงที่สุดในหมู่เครื่องบินระดับเดียวกัน ซึ่งสำเร็จขึ้นได้ด้วยการนำบรรดานวัตกรรมเทคโนโลยีของบริษัท ฮอนด้า แอร์คราฟต์ มาผสานรวมไว้ด้วยกัน เช่น รูปแบบเครื่องยนต์อันมีลักษณะเฉพาะตัวที่เรียกว่า Over-The-Wing Engine Mount หรือ OTWEM หัวและปีกแบบ Natural Laminar Flow หรือ NLF และชิ้นส่วนในลำตัวเครื่องบินที่สร้างขึ้นจากวัสดุผสมซึ่งช่วงลดน้ำหนักของเครื่องบินและขยายขีดจำกัดในการออกแบบลำตัว ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือสามารถเพิ่มความยาวของโครงสร้างได้ ส่วนขุมพลังในการขับเคลื่อนของอากาศยานรุ่นนี้เป็นเครื่องยนต์ GE Honda Aero Engines HF120 ความก้าวหน้าทั้งหมดนี้ได้ยกระดับสมรรถนะและประสิทธิภาพของเครื่องบินให้สูงขึ้นและเพิ่มขนาดพื้นที่ของลำตัวให้กว้างขวางกว่าเครื่องบินระดับเดียวกัน ปัจจุบันมีเครื่อง HondaJet ทำการบินอยู่ทั่วโลกมากกว่า 150 ลำแล้วและดำรงสถานะเป็นเครื่องบินไอพ่นขนาดเล็กที่มียอดส่งมอบมากที่สุดในหมู่เครื่องบินระดับเดียวกันถึง 3 ปีซ้อน คือ ปี 2017 ปี 2018 และ 2019